ไอดิน กลิ่นฝน กลิ่นที่ทำให้รู้สึกสดชื่นหลังฝนตก

  • 18/05/2020
  • จำนวนผู้ชม 4,022 คน

ไอดิน กลิ่นฝน กลิ่นที่ทำให้รู้สึกสดชื่นหลังฝนตก

          ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาประเทศไทยของเราหลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งมาต่อเนื่อง ฝนทิ้งช่วงถึงมาหลายเดือน รวมถึงพื้นที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ที่เป็นแหล่งรวบรวมความงดงามของพรรณไม้นานาชนิด เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาก็มีสัญญาณที่ดี ที่ฝนเริ่มตกลงมา ชะล้างและลดปัญหาหมวกควัน เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดินบ้างแล้ว เมื่อฝนตกหลายคนอาจจะได้รู้สึกรับรู้กลิ่นหนึ่งที่คุ้นเคย กลิ่นที่ทำให้รู้สึกสดชื่น กลิ่นที่ทำให้นึกถึงฤดูฝน และความชุ่มฉ่ำ นั่นคือ กลิ่นฝน นั้นเอง

          เมื่อฝนตกลงสู่พื้นดิน เราจะได้กลิ่นที่ระเหยออกจากผิวดิน บางคนเรียกว่า กลิ่นฝน หรือกลิ่นไอดินในภาษาอังกฤษเรียกว่า "เพทริเคอร์ (petrichor)"

          ศาสตราจารย์ มาร์ค บัตต์เนอร์ หัวหน้าแผนกจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งศูนย์จอห์นอินนส์ ค้นพบว่า แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินวงศ์สเตรปโตมัยซีส (streptomyces) แบคทีเรียชนิดนี้อาศัยอยู่ในดินที่ชื้นและอบอุ่น และสามารถทนความร้อนในช่วงฤดูแล้งได้ โดยแบคทีเรียผลิตสารโมเลกุลที่มีชื่อเรียกว่า จีโอสมิน (geosmin) ออกมาเมื่อพวกมันตาย เมื่อฝนตกลงสู่พื้นดิน จีโอสมินจะลอยขึ้นไปในอากาศ และเมื่อฝนตกหนักขึ้นปริมาณจีโสมินที่หลุดลอยไปในอากาศก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

          นอกจากนี้การปลดปล่อยจีโอสมินออกมามีสัตว์หลากหลายชนิดที่ไวต่อกลิ่นนี้ และมนุษย์จะไวต่อกลิ่นนี้มากที่สุด นอกจากกลิ่นนี้จะทำให้รู้สึกสดชื่นและชวนให้หลงใหลแล้ว มันยังดึงดูดแมลงหรือสิ่งมีชีวิตในดิน และเพื่อการขยายพันธุ์หรือดำรงเผ่าพันธุ์ของแบคทีเรียกลุ่มนี้นั่นเอง โดยกลิ่นฝนหรือกลิ่นจีโอสมินไม่ส่งผลกระทบหรือมีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเรา นอกจากเราจะพบจีโอสมินในดินแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังพบสารนี้ได้ในพืชบางชนิด เช่น หัวบีตรูท และสาหร่ายบางชนิด ทำให้แหล่งน้ำมีกลิ่นจีโอสมินรวมอยู่ด้วย

ที่มา : บีบีซีไทย เชียงใหม่นิวส์ และ https://soscity.co/things/secret-of-petrichor/

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย