เล็บมือนาง

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : เล็บมือนาง
ชื่อท้องถิ่น : จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง (เหนือ) 
ชื่อสามัญ : Drunken sailor/ Rangoon creeper 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quisqualis indica L.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง อายุหลายปี เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เปลือกต้นสีน้ำตาลปนแดง ค่อนข้างเรียบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม กิ่งแก่มีหนามทรงพุ่มแน่นทึบ

ใบ :

เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 7-9 x 15-18 ซม. โคนใบมนปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ใบอ่อนสีเขียวอมแดง แผ่นใบมีขนปกคลุม

ดอก :

ออกเป็นช่อแขนงห้อยตามซอกใบ และปลายกิ่ง ช่อละ 10-20 ดอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. ทยอยบานครั้งละ 3-6 ดอกต่อช่อ จึงเห็นดอกหลายสีในช่อเดียวกันกลีบเลี้ยงสีเขียวเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดง กลีบดอกรูปแถบ มีกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมแรงในช่วงค่ำจนถึงช่วงเช้า ดอกบาน 3-4 วัน

ผล :

เป็นผลแห้ง รูปกระสวย เปลือกแข็งเป็นเส้นตามยาว 5 สัน

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : สิ้นสุดระยะติดดอก :
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชียเขตร้อน การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกประดับซุ้มไม้เลื้อย
การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - ทั้งต้น เป็นยาแก้ไอ - ราก , ผล และเมล็ด เป็นยาขับพยาธิ - ใบ ตำพอก แก้ปวดศีรษะ แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นยาสมาน - เมล็ด เป็นยาถ่าย แก้ไข้ แก้ตกขาว อาการวิงเวียนศีราะ แช่ในน้ำมัน รักษาโรคผิวหนังแผลฝี น้ำต้มเมล็ดแก้อหิวาตกโรค และใช้รักษาโรคเอดส์ [1] - รากต้มน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ - ใบเอามาตำเป็นยารักษาแผลหรือฝี [2]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] พัฒน์ พิชาน. 2550. สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. กรุงเทพมหานคร. [3] อฤชร พงษ์ไสว. 2541. ไม้เลื้อยประดับ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : สวนสมุนไพร
Zone B : สวนไม้เถา
Zone B : สวนไม้หอม
Zone C1 : สวนฉะเชิงเทรา
Zone C1 : สวนกสท.
หมายเหตุ : ชนิดดอกซ้อนมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ที่มีหลอดกลีบเลี้ยงยาวซึ่งติดเมล็ดได้ดี และพันธุ์ที่มีหลอดกลีบเลี้ยงสั้น การออกดอกขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน ถ้าดินค่อนข้างแห้งจะออกดอกตลอดปี การปลูกเลี้ยงกิ่งชำหรือกิ่งตอนในกระถาง ควรใช้กระถางขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 30 ซม.ขึ้นไป เพราะเล็บมือนางเป็นไม้โตเร็ว และควรปักไม้และทำค้างให้ต้นเลื้อยพันด้วย [3]
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย