องค์ประกอบของหอคำหลวง

  • 26/06/2023
  • จำนวนผู้ชม 447 คน

การชมหอคำหลวงอย่างไรให้เพลิดเพลินและได้ความรู้  เราควรรู้จักว่าองค์ประกอบแต่ละส่วนของหอคำหลวง ส่วนไหนเรียกว่าอะไร หรือควรจะชมส่วนไหนเป็นพิเศษบ้าง หอคำหลวงทางล้านนานั้นส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบที่เราเรียกว่า “ม้าต่างไหม” ซึ่งชื่อนี้มาจากลักษณะการบรรทุกผ้าไหมบนหลังม้าของพ่อค้าม้าต่าง (ต่าง แปลว่าการบรรทุก) ในล้านนา โดย 1 หลังคาจะมีการลดหลั่นจากโถงกลางลงมาทางด้านหน้าและด้านหลัง ลักษณะคือมีหน้า 3 หลัง 2 โครงสร้างของหลังคาไม่ใช้ตะปูในการยึดติด แต่จะใช้ลิ่มสลักให้ไม้เชื่อมติดกันโดยที่ไม่หลุด เป็นชั้นเชิงที่สวยงาม ที่เรียกว่า วิหารซด (ซด คือ ลด) ส่วนใหญ่มักมุงหลังคาด้วยดินขอ (กระเบื้องดินเผา) หรือแป้นเกล็ด (แผ่นไม้)

2. ซุ้มฉัตร มีลักษณะเป็นซุ้มหอทั้งหมด 9 ซุ้ม มีซุ้มประธานคือซุ้มหลักที่แบกฉัตรไว้ด้านบน ศิลปะแบบนี้พบมากในหลวงพระบาง (ลาว) ซึ่งในสมัยก่อนหลวงพระบางมีชื่อเดิมว่าเมืองเชียงทอง และเชียงเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา โดยเรียกศิลปะแบบซุ้มหลังคานี้ว่า ศิลปะแบบเชียงขวาง

3. ช่อฟ้า เป็นส่วนที่โดดเด่นที่สุดของจั่วของหลังคาวิหารล้านนา ช่อฟ้าของหอคำหลวงแกะสลักเป็นรูปนกการเวกทั้งหมด 5 ตัว ว่ากันว่าเป็นนกในป่าหิมพานต์ ที่มีจะงอยปากที่สวยงาม และมีเสียงไพเราะที่สุด

4. ประตูทางเข้าด้านหน้าหอคำ เป็นแบบศิลปะล้านนา ซุ้มประตูด้านบนทำเป็นทรงยอดปราสาทซ้อนบนบัลลังก์แบบล้านนาซ้อนชั้นอยู่ 5 ชั้น ถัดลงมาเป็นซุ้มคล้ายบัลลังก์พญานาค ซึ่งมีพญานาค 2 ตัวทอดตัวลงมา ถัดลงมาเป็นหน้าบันหรือหน้าแหนบแบบล้านนาซึ่งเป็นซุ้มของป้านลมแบบหางวัน โดยแกะสลักเป็นลวดลายของนกยูงปิดด้วยทองเหลือง ถัดลงมาเป็นส่วนของคอกีดสลักเป็นรูปกระต่าย และถัดลงมาเป็นส่วนของโก่งคิ้วแบบล้านนา ลักษณะคล้ายปีกนกประดับด้วยกระจก ส่วนเสาซุ้มประตูเป็นแบบฐานบัวแท่นแก้วโดยมีการย่อมุมไม้ 8 แฉก

 การที่เราจะชมหอคำหลวงแบบล้านนาให้เพลิดเพลินและได้ความรู้นั้น เราต้องเป็นคนช่างสักเกตสักหน่อยนะคะ อย่ามองข้ามรายละเอียดเล็กๆน้อยๆกัน ถึงแม้ว่ารูปทรงจะเหมือนกัน แต่การตกแต่ง การประดับประดาอาจจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งแสดงถึงฝีมือของช่างที่ทุ่มเทความสามารถ สร้างให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน ฝากให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและรักษาต่อไป องค์ประกอบเหล่านี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของหอคำหลวง ทุกท่านสามารถเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย