หิ้งผีปูย่า ศิลปะเเละวัฒนธรรมไทย

  • 09/01/2024
  • จำนวนผู้ชม 141 คน

สำหรับชาวล้านนาแล้ว เชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษหลังจากสิ้นความเป็นมนุษย์แล้วยังคงวนเวียนอยู่ตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เพื่อคอยปกป้องลูกหลานให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบสุข 

ดังนั้นชาวล้านนาจึงนิยมทำหิ้งบูชา  ให้วิญญาณบรรพบุรุษให้สิงสถิตอยู่บริเวณเหนือหัวนอนติดฝาด้านตะวันออกตรงมุมห้องอยู่ติดเสา หรือระหว่างเสามงคลและเสาท้ายสุดของเรือน มักทำเป็นหิ้งเล็กๆ ยื่นจากฝาเข้ามาในห้องมีระดับความสูงเท่าๆ กับหิ้งพระ หรือบางครอบครัวอาจสร้างเรือนจำลองหลังเล็กๆ บริเวณมุมรั้วใต้ร่มไม้ใหญ่  หรือที่ใดที่หนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม โดยบนเรือนจำลองจะมีคนโฑ แจกัน ธูปเทียน และดอกไม้ประดับอยู่ บนหิ้งมักมีพานหรือถาดใส่ดอกไม้ธูปเทียนจากการเซ่นไหว้เป็นครั้งคราว และมักมีการเซ่นไหว้เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น แต่งงาน เจ็บป่วย เป็นต้น

การเลี้ยงผีปู่ย่า  มักถือเอาเทศกาลที่มีการรวมญาติมากมาย โดยถือโอกาสนี้ทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่า การนับถือผีปู่ย่าจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในตระกูลให้ตั้งอยู่ในความสามัคคี เกื้อหนุนช่วยเหลือกัน โดยยึดเอาผีปู่ย่าเป็นหลักรวมใจในหมู่ญาตินั่นเองค่ะ

อ้างอิงข้อมูล

สนั่น ธรรมธิ. วารสารร่มพยอม. 13,1 ม.ค.-มิ.ย. 2554

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย