ปูรณฆฎะ หม้อดอกแห่งความอุดมสมบูรณ์

  • 23/01/2024
  • จำนวนผู้ชม 402 คน

#ปูรณฆฎะ’ [ปูระนะคะตะ] หรือ ‘ลายหม้อดอก’

#บูรณฆฎะ เป็นการสมาสคำภาษาสันสกฤตสองคำโดยนำคำว่า ปูรณะ (ความบริบูรณ์)  + ฆฏะ (หม้อน้ำ) 

#หม้อดอกแห่งความอุดมสมบูรณ์

“หม้อดอก” หรือ “ปูรณฆฏะ” เชื่อกันว่าเป็น หม้อดอกไม้แห่งความสมบูรณ์ ซึ่งหมายรวมถึงความสุข สงบ ร่มเย็น อุดมสมบูรณ์  และความเปี่ยมงอกงามด้วยปัญญา หม้อบูรณฆฏะ มักถูกเรียกว่าหม้อไหดอก มีลวดลายที่วิจิตรสวยงาม ใช้สำหรับบูชาพระ เพื่อความรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ ทางล้านนาเรียกลวดลายนี้ว่า ‘หม้อดอก’ หรือ ‘ลายหม้อดอก’ สามารถหาชมได้ตามผนังวัด เช่น วิหารวัดปงยางคก และวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง

ส่วน ตัวหม้อ ที่มีน้ำอยู่เต็มสื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์มีข้าว  ปลา  อาหาร พะลาหาญสมบูรณ์ ส่วนดอกไม้จะสื่อถึงทรัพย์ศฤงคาร อันได้แก่การมีทรัพย์สินและบริวาร การสร้างลวดลายหม้อดอกประดับศาสนสถานของล้านนานั้น สังเกตเห็นได้ว่าในระยะแรก ลายหม้อดอกมีปรากฏอยู่แต่ในงานลายคำ แต่ต่อมาพบว่าลวดลายหม้อดอกได้รับความนิยมมากขึ้น และปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมแบบอื่น ๆ ทั้งปูนปั้น สลักไม้ ปั้นรัก และเขียนสี รวมทั้งยังเป็นหม้อดอกไม้ลอยตัว ที่ตั้งประดับอยู่ตามมุมขององค์พระธาตุเจดีย์อีกด้วย ความหลากหลายของลายปูรณฆฏะ หรือ ลายหม้อดอกที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนา จึงสะท้อนให้เห็นถึงคตินิยมและเอกลักษณ์สำคัญในศิลปะล้านนา 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย