"ปรง" พืชโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

  • 18/02/2020
  • จำนวนผู้ชม 9,284 คน

หากพูดถึง "ต้นปรง" (Cycads) เรามักจะนึกถึงต้นไม้ที่รูปร่างเป็นเอกลักษณ์ ลำต้นคล้ายมะพร้าวแคระ แต่ใบกลับคล้ายปาล์ม หากใครเป็นคอภาพยนตร์ หรือสารคดีมักจะเห็นต้นปรงนี้ประกอบฉากที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์อยู่บ่อยๆ เนื่องด้วยปรงเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการยาวนานมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ เช่นเดียวกับต้นสน และเฟิน ที่เป็นอาหารของเหล่าไดโนเสาร์กินพืช

ปรงนอกจากจะเป็นพืชที่ทนทานทั้งต่อความแห้งแล้ง และความหนาวเย็น ยังเป็นพืชที่มีโครงสร้างที่โดดเด่น กล่าวคือ เป็นต้นที่แยกเพศ โดยต้นเพศผู้จะมีใบที่ลดรูปเป็นเกล็ดแข็งเพื่อสร้างละอองเรณูอัดซ้อนกันเป็นโคนสูง (Male cone) ส่วนต้นเพศเมีย ใบลดรูปเพื่อสร้างเมล็ด เรียงตัวกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (Rosette like female cone) กลางลำต้น ทั้งลักษณะโครงสร้างที่แปลกตา  ใบที่สวยงาม มันเงา รูปทรงสวย จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน จนได้รับสมญานามว่า “King of garden”

ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ด้วยความนิยมปลูกและค้าขาย ปรงจึงถูกขุดล้อมออกมาจากพื้นที่ธรรมชาติจำนวนมาก จนกลายเป็นพืชที่ถูกคุกคามอย่างรุนแรง เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ภายหลังจึงถูกจัดให้เป็นพืชอนุรักษ์ในบัญชีไซเตส (CITES)

ข้อมูลอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย