กระบาก

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 12/09/2017
ชื่อไทย : กระบาก
ชื่อท้องถิ่น : กระบากขาว(ชลบุรี,สงขลา)/ กระบากโคก(ตรัง)/ กระบากด้าง, กระบากช่อ(ชุมพร)/ กระบากดำ(ชุมพร,สุราษฎร์ธานี)/ กระบากแดง(ชุมพร,ระนอง)/ ตะบาก(ลำปาง)/ บาก(ชุมพร)/ พนอง(จันทบุรี,ตราด) 
ชื่อสามัญ : Mesawa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 เมตร ผลัดใบระยะสั้น ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนต่ำๆเปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนา

ใบ :

เดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน กว้าง 6-8 ซม. ยาว 6-16 ซม. ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละ 12-19 เส้น ก้านใบยาว 1.3-1.6 ซม.

ดอก :

ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นๆ ตามซอกใบและปลายกิ่งช่อยาว 10 ซม. สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เรียงซ้อนเวียนกัน ก้านดอกและกลีบเลี้ยงมีขนนุ่ม  มีกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-2.5 ซม.

ผล :

แห้งแบบมีปีก รูปกลม เรียบ ขนาด 1 ซม. มีปีกยาว 2 ปีกและปีกสั้น 3 ปีก โคนปีกติดเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวผล  เมล็ด มี 1 เมล็ดต่อผล

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : กุมภาพันธ์
เริ่มติดผล : มีนาคม สิ้นสุดระยะติดผล : เมษายน
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ เป็นต้นไม้ที่สง่างาม ดอกและผลสวย ควรปลูกในพื้นที่กว้าง
การปลูกและการขยายพันธุ์ : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ปจำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone B : สวนไม้ประจำจังหวัด
Zone C1 : สวนพฤกษศาสตร์
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย