ช้างกระ

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : ช้างกระ
ชื่อท้องถิ่น : ช้างค่อม, เอื้องช้างเผือก(กทม.) / ช้างดำ(กทม.,กลาง) / ช้างแดง(กทม.,เชียงใหม่) / ช้างเผือก(กทม.,เหนือ) / เอื้องต๊กโต(เหนือ) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

กล้วยไม้อิงอาศัย ต้นตั้งตรงหรือเอนเล็กน้อย รากใหญ่และยาว

ใบ :

รูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 20-40 ซม. ปลายแยก 2 แฉก ไม่เท่ากัน ใบใหญ่ หนา อวบน้ำ และเหนียว เรียงตัวสลับซ้ายขวาค่อนข้างถี่

ดอก :

ออกเป็นช่อทอดเอนลงเล็กน้อยหรือเอนโค้งลง ยาว 15-30 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวมีประสีม่วงแดงทั่วกลีบ กลีบปากสีม่วงแดง ปลายกลีบเว้าเป็น 3 พูตื้นๆ ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 ซม. มีกลิ่นหอม ดอกในช่อค่อนข้างแน่น บานทนเป็นสัปดาห์

ผล :

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : มกราคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ที่ระดับความสูง ไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ จีนตอนใต้ อินโดจีน พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุรายละเอียดการใช้ประโยชน์
แหล่งอ้างอิง : [1] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 2. Thai Native Orchids 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [2] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone B : สวนกล้วยไม้
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย