สถานที่ออกกำลังกายภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ทั้งกว้างขวาง อากาศปลอดโปร่ง เป็นที่โล่งแจ้ง ไม่แออัด มีพื้นที่ให้วิ่งมากถึง 3 โซน วันนี้จะมาแนะนำโซนวิ่งแรก ที่นักวิ่งหลายคน ต่างมายืดเส้น ยืดสาย ออกกำลังกายกัน นั่นก็คือ… บริเวณทางเข้าหลักอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นพื้นที่ให้วิ่งลานกว้าง มีลูกศรบอกทิศทางในการวิ่ง ซึ่งใน 1 รอบวงเวียน สามารถเก็บระยะได้ถึง 1 กิโลเมตรเลยนะ
วิ่งปลอดภัย สบายใจได้ ด้วยมาตรการป้องกันการเเพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เเละเพื่อความปลอดภัย ขอความร่วมมือผู้รักสุขภาพทุกท่าน ปฏิบัติตามมาตรการ ดังนี้
- สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ผ่านจุดคัดกรองทุกครั้ง
- เช็คอิน-เช็คเอ้าท์ ในแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” พร้อมลงทะเบียนเข้าใช้บริการพื้นที่ออกกำลังกาย ณ จุดคัดกรอง
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดหรือแอลกอฮอล์เจล
- การเดิน วิ่ง รวมถึงการนั่งพัก ต้องมีการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร โดยที่ในการเดิน – วิ่งนั้นจะต้องเป็นการเดิน – วิ่งทางเดียว ตามลูกศรที่กำหนด
- ไม่รวมตัวกันจุดใดจุดหนึ่ง
- งดรวมกลุ่มรับประทานอาหาร
** สำหรับผู้รักสุขภาพที่ชื่นชอบการออกกำลังกายในช่วงเช้า เราเปิดพื้นที่ออกกำลังกาย เวลา 05.30 - 08.00 น. โดยเข้าประตู 2 (ข้างไนท์ซาฟารี) เท่านั้น (เพื่อผ่านจุดคัดกรอง) และในช่วงเช้าจะไม่อนุญาตให้นำรถทุกชนิดเข้ามาจอดภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์
ช่วงเย็น เปิดให้บริการ เวลา 16.00 – 19.30 น. (จุดคัดกรองและลงทะเบียนถึง เวลา 18.30 น.)
ช่วงเดือนพฤษจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์(ฤดูหนาว)
อุณหภูมิเฉลี่ย 21 อาศาเซลเซียส
ช่วงเดือนมีนาคม - ต้นเดือนมิถุนายน(ฤดูร้อน)
อุณหภูมิเฉลี่ย 29.5 อาศาเซลเซียส
ช่วงกลางเดือนมีนาคม - เดือนตุลาคม(ฤดูฝน)
อุณหภูมิเฉลี่ย 25.5 อาศาเซลเซียส
เวลาที่เหมาะแก่การถ่ายภาพ ในช่วงเช้าเวลา 8.00 - 10.00 และช่วงเย็น เวลา 15.00 - 18.00
จุดน่าสนใจที่ไม่ควรพลาด Attractions
1. หอคำหลวง สถาปัตยกรรมแบบล้านนาอันวิจิตรตระการตาเปรียบเสมือนประตูหลักที่สำคัญของการเยือนถิ่นวัฒนธรรมล้านนา
2. สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนุกกับพืชพรรณที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต อาทิ ข้าว พืชผัก สมุนไพร ไม้ผล และรู้จักสัตว์เลี้ยงที่เป็นประโยชน์ ชมได้ทั้งวัน
3. เรือนกล้วยไม้ ชมความสวยงาม ความหลากหลายของกล้วยไม้ทั้งพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม ในบรรยากาศร่มรื่น เย็นสบาย
4. เรือนไม้ดอก ชมไม้ดอกเมืองหนาว สีสันสวยงาม ที่เป็นการส่งเสริมอาชีพของเกษตรบนพื้นที่สูง
5. เรือนร่มไม้ สวรรค์แห่งพรรณไม้ร่มชื้น ชมซุ้มไม้ใบที่สวยงาม หลากหลาย แม้จะไม่มีสีสัน แต่มองแล้วให้ความร่มรื่นชื่นใจ
6. โดมกุหลาบ แห่งแรกในเชียงใหม่ที่รวบรวมสายพันธุ์กุหลาบมากกว่า 150 สายพันธุ์
7. โลกแมลง เรียนรู้ธรรมชาติ พฤติกรรม ที่อยู่อาศัยของแมลงตัวน้อย แต่มีประโยชน์ในระบบนิเวศมหาศาล
เนื่องจากเป็นสวนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีแสงแดดร้อนในบางช่วง เมื่อจะเข้าชมสวนจึงควรสวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่ใส่สบายๆ และควรมี แว่นกันแดด หมวก หรือร่มติดตัวไปด้วย
ในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เรามีร้านอาหารในสวน อร่อย บรรยากาศดี ต้องยกให้ ‘ครัวโครงการหลวง (Royal Project Kitchen)’ ที่รังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบคุณภาพ สดใหม่จากดอย พร้อมเครื่องดื่มสดชื่นมากมาย ภายในร้าน บรรยากาศมีความร่มรื่นของต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณเต็มไปหมด และยังมีสินค้าผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวงจำหน่ายให้ทุกท่านได้เลือกซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านอีกด้วย
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ อยากแวะทานข้าวที่ร้านครัวโครงการหลวง สามารถขึ้นรถไฟฟ้าชมสวน ลงสถานีจอดรถหอคำหลวง เดินมาตามเส้นทางสวนประเทศเนเธอร์แลนด์-สวนประเทศญี่ปุ่น ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือจ้า
พิกัด : ร้านครัวโครงการหลวง (Royal Project Kitchen)
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.30 - 16.30 น.
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 052-080660
Facebook : https://bit.ly/3bnK2uC
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 18.00 น.
หากต้องการไปอุทยานหลวงราชพฤกษ์สามารถเดินทางโดยรถยนต์ จากเมืองเชียงใหม่ไปตามถนนห้วยแก้ว (ทางหลวงหมายเลข 1004) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนคันคลองชลประทาน (ทางหลวง หมายเลข 121) ไปอำเภอหางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนราชพฤกษ์ประมาณ 2 กิโลเมตร หรือเดินทางโดยรถยนต์จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนเชียงใหม่ - หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนราชพฤกษ์ประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงอุทยานหลวงราชพฤกษ์ สามารถดูแผนที่การเดินทางจาก ดูแผนที่การเดินทาง
เวลาเปิด-ปิด
เปิดให้บริการชมสวนทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น.
ค่าบำรุงอุทยานหลวงราชพฤกษ์
คนไทย : ผู้ใหญ่ ราคา 100 บาท เด็ก ราคา 70 บาท
ต่างชาติ : ผู้ใหญ่ ราคา 200 บาท เด็ก ราคา 150 บาท
** รถไฟฟ้าชมสวนนั่งฟรี **
ค่าบริการอื่นๆ
รถกอล์ฟ 10 ที่นั่ง ชั่วโมงละ 1,000 บาท
รถจักรยาน ครั้งละ 60 บาท/คัน