หนอนกำจัดขยะ...หนอนแมลงวันลาย

  • 04/06/2020
  • จำนวนผู้ชม 19,673 คน

หนอนกำจัดขยะ...หนอนแมลงวันลาย

          หลายคนคงรู้จักแมลงวันบ้าน ซึ่งเป็นแมลงที่มีพฤติกรรมก่อความรำคาญ ตอมอาหารในบ้านเรือน เป็นพาหะก่อเชื้อโรคและสร้างความวุ่นวายไม่น้อย แต่มีแมลงชนิดหนึ่งที่อยู่ในชั้นเดียวกันกับแมลงวันบ้านแต่เป็นแมลงที่มีประโยชน์นั่นคือ “แมลงวันลาย”

          แมลงวันลาย (Black Soldier Fly) สามารถพบเห็นได้ตามธรรมชาติ มีรอบวงจรชีวิตทั้งหมด 5 ระยะ คือ ระยะตัวเต็มวัย ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะหนอนก่อนเข้าดักแด้ และระยะดักแด้ โดยแมลงวันลายตัวเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 400-900 ฟอง บนขยะอินทรีย์ที่มีพื้นผิวแห้ง โดยระยะหนอนนี้จะกินน้ำและน้ำหวานในการดำรงชีวิตในระยะเวลาสั้นที่ 7-12 วันเท่านั้น โดยโดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะอินทรีย์ได้แก่ ผักสลัด แครอท ฟักทอง และผักอื่นๆ และผลไม้ทุกชนิด ในการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพจะพบหนอนแมลงวันลายได้ทั่วไป ทำให้ลดกลิ่นเหม็นของขยะ มีส่วนช่วยในการย่อยสลายเศษขยะอินทรีย์เหล่านี้และปลดปล่อยเป็นฮอร์โมน และธาตุอาหารพืช นอกจากนี้หนอนแมลงวันลายยังมีประโยชน์ในการนำไปเป็นอาหารของสัตว์ได้อีกด้วย  เพราะหนอนแมลงวันมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และแคลเซียมสูงมาก ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาหนอนแมลงวันลายเป็นส่วนผสมอาหารปลาอีกด้วย

          อุทยานหลวงราชพฤกษ์ได้ดำเนินการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักและผลไม้ ทำให้หนอนแมลงวันลายเข้ามาวางไข่ และช่วยย่อยสลายเศษผัก ผลไม้จากน้ำหมักชีวภาพให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารสูง และใช้สำหรับปรับปรุงบำรุงดิน และดูแลพรรณไม้ สำหรับเกษตรกรหรือผู้สนใจอยากเรียนรู้วิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพและการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเพื่อการเกษตรสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ที่ฐานเรียนรู้ดินและปุ๋ย อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

 

ข้อมูลอ้างอิง 

อานัฐ ตันโช, 2561, คู่มือการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการเลี้ยงหนอนแม่โจ้ จากขยะชุมชนและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย