ต้นไม้ช่วยลดโลกร้อนได้จริงหรือ ?

  • 06/08/2020
  • จำนวนผู้ชม 15,361 คน

ต้นไม้ช่วยลดโลกร้อนได้จริงหรือ ?

          ต้นไม้เป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีที่สุด โดยต้นไม้นั้นจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) และจะนำมาสะสมไว้ในทุกส่วนไม่ว่าเป็นเป็นใบ กิ่ง ลำต้น และรากใต้ดิน (มวลชีวภาพ) ทำให้ก๊าซคาร์บอนฯ ถูกตรึงอยู่ในต้นไม้จนกว่าจะมีการตัดต้นไม้ออกไปจากพื้นที่ "ต้นไม้หนึ่งต้นสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 9-15 กิโลกรัม/ปี และสามารถผลิตออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับ 2 คน/ปี รวมทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิรอบบ้านได้ 2-4 องศา"

          โดยจากการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้น ในพื้นที่ให้บริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์โดย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 13.90 เฮกตาร์ (86.8 ไร่) พบว่ามีความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ยทั้งหมด เท่ากับ 480.93 ต้นต่อเฮกตาร์ (76.94 ต้น/ไร่) และมีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนสะสมรวมทั้งหมด เท่ากับ 426.83 เมกกะกรัม (ตัน) หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 30.7 เมกกะกรัมต่อเฮกตาร์ (4.91 ตัน/ไร่) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้นไม้นั้นมีคุณสมบัติและสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี "เรามาช่วยกันปลูกต้นไม้กันเถอะ"

ข้อมูลอ้างอิง

          อุทยานหลวงราชพฤกษ์ 2560. การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้นบางชนิดภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย.

          สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2550. การกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้กับสภาวะโลกร้อน. วารสารอนุรักษ์ดินและน้ำ 22(3): 40-49.

          Intergovernmental Panal on Climate Change (IPCC).  1996.  IPCC Guideline for National Greenhouse Gas Inventories: Reference Manual. In Chapter 5: Land Use Change and Forestry. n.p.: n.p.

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย