ศิลปวัฒนธรรมภูฏาน

  • 17/06/2021
  • จำนวนผู้ชม 1,671 คน

          หนึ่งในสวนนานาชาติที่มีความโดดเด่นในด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ไม่แพ้สวนอื่นๆ นั่นก็คือ “สวนประเทศภูฏาน” นั่นเองค่ะ ซึ่งในอดีตภูฏานได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาจากทิเบต จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่หน้าค้นหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์ด้านจิตรกรรม, ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม เป็นต้น เมื่อนักท่องเที่ยวได้นั่งรถรางชมสวน...ก็จะสะดุดตากับสถาปัตยกรรมของ กำแพงแก้ว, แผงไม้แกะสลักรูปต่างๆ, ประตูสวนสีส้มสะดุดตากว่าใครและสะพานเชื่อมสัมพันธ์มิตรภาพไทย ภูฏาน ซึ่งสถาปัตยกรรมเหล่านี้มีความหมายแฝงอยู่นั้นเองค่ะ 

       กำแพงแก้ว มีความหมายถึงการเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มาเยือนและวัฒนธรรมของประเทศภูฏาน เป็นการนำหินจากประเทศภูฏานมาเชื่อมติดกันด้วยดินเหนียว สร้างขึ้นโดยช่างผู้มีฝีมือของภูฏานที่มากประสบการณ์

      แผงไม้แกงสลัก ที่ติดอยู่กับกำแพงแก้วทั้งหมด 8 ชิ้น สื่อถึงความสงบสุขและการเป็นคนดีของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมพุทธศาสนา โดยสัญลักษณ์เหล่านี้มักจะพบได้ในวัดวาอารามและบ้านเรือนของชาวภูฏาน

       ประตูสวน ได้นำหินแกะสลักเป็นรูปสิงโตมาประดับ ตกแต่ง ด้านบนของประตูและบริเวณด้านข้างของประตูได้แกะสลักด้วยมือเป็นรูปมังกร โดยมังกรสื่อถึงภาษาท้องถิ่น หรือเรียกว่า ภาษาซองคา (Dzongkha)

      สะพานเชื่อมสัมพันธ์มิตรภาพไทย ภูฏาน มีความหมายถึงความสามัคคีระหว่างประเทศไทยและภูฏาน โดยจุดเด่นของสะพานได้มีการแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ประจำชาติของทั้งสองประเทศไม่ว่าเป็นดอกราชพฤกษ์และดอกบลูป๊อปปี้ นอกจากดอกไม้ประจำชาติแล้วยังมีสัตว์สี่สหายไม่ว่าจะเป็นลิง ช้าง กระต่ายและนก โดยสัตว์ทั้ง 4 ตัวนี้มีต้นกำเนิดมาจากนิทานพุทธศาสนาของภูฏาน The Thuenpa PuenZhi สี่สหายสามัคคี 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย