ศิลปะและวัฒนธรรมเอเชีย ตอน พุทธสถาน

  • 30/06/2021
  • จำนวนผู้ชม 490 คน

       บางท่านต้องเคยสับสนกันแน่นอนค่ะว่า “สวนลุมพินี” “สวนลุมพินีวัน” “สวนลุม” หรือ “ลุมพีนีวัน” นี่มันที่เดียวกันรึปล่าว  แอดก็เคยเป็นคนนึงที่เคย งง และสับสนว่ามันใช่ที่เดียวกันแน่ๆ แต่วันนี้เราจะมาเฉลยกันค่ะว่า “ลุมพินี” มันคือสถานที่แห่งนี้นี่เอง!!!

      “ลุมพินี” เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะ ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัทธกับเมืองเทวะทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่ง แม่น้ำโรหินี “ลุมพินี”ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี โดยใช้ชื่อว่า "ลุมพินี ที่ประสูติพระพุทธเจ้า และในสมัยพุทธกาล “ลุมพินี” อยู่ในเขตแห่งดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสด์เมืองหลวงของพระเจ้าสุทโธทนะ และกรุงเทวทหะ เมืองหลวงของพระเจ้าชนาธิป เป็นพระราชอุทยานลาดลุ่มร่มรื่นกึ่งกลางระหว่างทางสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของกษัตย์และประชาชน

      ปัจจุบัน ลุมพินีได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช" ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ

  “ลุมพินี”ได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ ท่าน”อู่ถั่น”ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย