ศิลปวัฒนธรรมอิหร่าน กับ "สุสานของความเป็นนิรันดร์"

  • 11/08/2021
  • จำนวนผู้ชม 766 คน

สวัสดีค่ะ ลูกเพจที่น่ารักทุกคน วันนี้แอดมีเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรม มาเสิร์ฟให้ทุกคนได้เปลี่ยนฟิลลิ่ง ให้รู้สึกตื่นเต้นน่าค้นหากันบ้างนะคะ ก็จะเป็นเรื่องราวของชาวมุสลิมท่านนึง ที่เป็นกวีเอกชื่อดัง ชื่อว่า “กวีฮาเฟซ” และจะพูดถึงพิธีกรรมการฝังศพของพี่น้องชาวมุสลิมค่ะ “มุสลิม” เป็นภาษาอาหรับมีไว้เรียกบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม มีความหมายคือผู้ใฝ่สันติ ผู้ยอมมอบกายและหัวใจให้แก่พระเจ้า ภาษาอาหรับมักจะใช้ในการปฏิบัติในศาสนพิธี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ปฏิบัติกันตามหลักการของศาสนาอิสลาม คำว่า“สุสาน” ในภาษาอาหรับคือ “กุโบร์” จะแต่งต่างจากสุสานของชาวพุทธโดยสิ้นเชิงค่ะ แต่จะมีความคล้ายกับศาสนาคริสต์ คือ มีการขุดหลุมฝังศพนั่นเอง โดยการขุดหลุมลึกพอสมควร ฝังศพในท่านอนตะแคงขวา หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลังฝังศพเรียบร้อยแล้วใช้ก้อนหินหรือหลักไม้สั้น ๆ 2 ท่อน ปักด้านศีรษะและปลายเท้า โดยพิธีศพของชาวมุสลิมนั้นจะจัดขึ้นและเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากบุคคลนั้นเสียชีวิต โดยอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ได้จำลองสุสานของกวีฮาเฟซ กวีเอกสมัยศตวรรษที่ 14 ที่ชาวอิหร่านยกย่องเทิดทูน ผู้ที่ครองใจผู้คนชาวอิหร่านอย่างไม่มีใครเทียบได้ และสุสานนี้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์ บทกวีของฮาเฟซ ประกอบด้วยวรรณกรรมชุดของเปอร์เซีย เป็นบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่างดงาม ไพเราะ คมคาย มีความหมายลึกซึ้ง นั่นจึงทำให้กวีฮาเฟซกลายเป็นบุคคลสำคัญของชาวมุสลิมนั่นเองค่ะ

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย