สีสันพรรณไม้ “ประดู่เเดง Vs ประดู่ม่วง”

  • 28/02/2022
  • จำนวนผู้ชม 1,720 คน

สีสันพรรณไม้ “ประดู่เเดง Vs ประดู่ม่วง”

 

ถึงแม้จะมีชื่อที่คล้ายกัน แต่...พืชสองชนิดนี้ไม่ได้ใกล้ชิดกันเท่าไหร่นะ ถ้าเทียบกับมนุษย์ก็เหมือนเป็นญาติห่างๆ วันนี้เรามีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประดู่แดงและประดู่ม่วงมาให้ฝาก ตามไปอ่านกันเลย…

 

สัปดาห์นี้ยังคงมีเกร็ดความรู้ของสีสันพรรณไม้ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ของเรา อย่างสองประดู่...ที่กำลังบานอยู่ในช่วงนี้และเป็นจุดถ่ายรูปยอดฮิตเลยทีเดียว นั่นก็คือ ประดู่แดง ต้นไม้ที่ทิ้งใบเกือบหมดต้นและออกดอกสีแดงเพลิงเต็มพื้นที่ และประดู่ม่วงที่แอบแย่งซีนอยู่ใกล้ๆ กับลานประดู่แดงของเรา แต่ถึงแม้จำนวนต้นเราจะไม่เยอะ แต่ประดู่ม่วงก็จัดเป็นไม้หายาก และมีดอกที่บานสะดุดตาไม่แพ้ประดู่แดงเช่นกัน

 

หากสังเกตุเรื่องชื่อ “ประดู่แดง...ประดู่ม่วง” ที่คล้ายกันแล้ว ความจริงพืชสองชนิดนี้ไม่ได้ใกล้ชิดกันเท่าไหร่ แต่ถ้าเทียบกับมนุษย์ก็เหมือนเป็นญาติห่างๆ กัน โดยทั้งประดู่แดงและประดู่ม่วงเป็นพืชในวงศ์ถั่ว (FABACEAE) เหมือนกัน แต่ ประดู่แดง (Phyllocarpus septentrionalis) อยู่ในสกุล Phyllocarpus ที่ดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบสีแดง กลีบดอก 3 กลีบ สีแดงอมส้ม ดอกจะออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้านเมื่อถึงฤดูกาลผลัดใบลง เราจึงเห็นเหมือนดอกสีแดงเพลิงที่ออกเต็มกิ่งห้อยลงสวยงาม ส่วน ประดู่ม่วง (Millettia ovalifolia) เป็นพรรณไม้ที่ค่อนข้างหายาก อยู่ในสกุล Millettia สกุลเดียวกับกระพี้จั่น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมดอกจึงละม้ายคล้ายกระพี้จั่นเอามากๆ

ทั้งประดู่แดงและประดู่ม่วงจะออกดอกสวยๆแบบนี้ในช่วงเวลาไล่เรี่ยกัน คือในช่วงเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม ยังไงช่วงนี้ดอกของทั้งสองก็ยังไม่โรย แวะมาถ่ายรูปกันนะ

 

แต่....ก็ไม่ได้หมดแค่นี้ ยังมีอีกสองประดู่..อย่างประดู่ป่าและประดู่บ้านที่จะบานหลังจากนี้ จะมีอะไรน่าสนใจ จะมีจุดสังเกตุดีดีแบบไหน? ไว้รอติดตามกันนะคะ

 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย