หิ่งห้อย..แมลงเรืองแสง

  • 30/05/2022
  • จำนวนผู้ชม 1,610 คน

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเราได้มีกิจกรรมสำรวจสิ่งมีชีวิตกลางคืนบริเวณทุ่งนา และได้เจอหิ่งห้อยกระพริบแสงเต็มแปลงนา ราวกับทะเลหิ่งห้อยเลยทีเดียว วันนี้จึงมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับแมลงตัวจ้อยแต่แสงไม่ธรรมดา มาฝากทุกท่านกันค่ะ

 

“หิ่งห้อย” (Firefly) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในวงค์ Lampyridae สกุล Coleoptera ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 2,000 ชนิดเลยทีเดียว หิ่งห้อยจะกระพริบแสงเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งแสงที่เราเห็นนั้นจะอยู่ใต้ของปล้องท้องหิ่งห้อย 2-3 ปล้องสุดท้าย มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน อย่างในช่วงนี้ที่ฝนเริ่มตกมาแล้ว ทำให้เราเจอหิ่งห้อยกันบ่อยขึ้น ตามบริเวณใกล้ๆ กับแหล่งน้ำ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งน้ำเป็นทั้งแหล่งที่อยู่ตั้งแต่ ระยะ ไข่ หนอน ดักแด้ และเป็นที่อยู่ของพวก หอยฝาเดียว ซึ่งเป็นอาหารของตัวหนอนหิ่งห้อยนั่นเอง ส่วนในช่วงการเป็นตัวเต็มวัยอาศัยกินเพียงน้ำค้างตามยอดหญ้า หรือใบไม้ อย่างที่เราเคยได้ยินว่าหิ่งห้อยกับต้นลำพูเป็นอะไรที่คู่กัน ความจริงแล้วใบลำพูจะมีขนบริเวณผิวใบ เมื่อเข้าสู่หน้าฝน ความชื้นในอากาศมาก น้ำฝน น้ำค้าง จึงเกาะตามใบ เป็นที่มาว่าทำไมหิ่งห้อยจึงชอบเกาะตามใบลำพูนั่นเอง

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย