จากผ้าไทย สู่ชุดไทยพระราชนิยม

  • 25/08/2022
  • จำนวนผู้ชม 1,502 คน

สวัสดีค่ะ  สัปดาห์ที่แล้วเราพูดถึงเรื่องผ้าไหมไทยกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงผ้าไทย ที่พัฒนามาเป็นชุดพระราชนิยม และชุดในพระราชพิธีหรืองานมงคลของทุกวันนี้กันนะคะ 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชนิยมเรื่องการใช้ผ้าไทยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ครั้งเมื่อพระองค์ยังเป็นพระคู่หมั้น ทรงได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะสนับสนุนและส่งเสริมการแต่งกายที่เป็นแบบไทย ใช้ผ้าไทย และซิ่นไทย ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ใช้ชุดที่ตัดเย็บด้วยผ้าไทย และเมื่อผ่านพ้นพระราชพิธีไปแล้ว พระองค์ยังทรงปฏิบัติตามพระราชปณิธานดังกล่าว เมื่อคราวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศ ได้ทรงคิดใช้ไหมไทย ผ้าไทย และผ้ายกต่าง ๆ มาประดิษฐ์ตกแต่งเป็นฉลองพระองค์เพื่อให้แสดงถึง ความเป็นไทย ต่อมาจึงได้มีเครื่องกายแต่งกายแบบไทยตามพระราชนิยมขึ้น และกลายเป็นเอกลักษณ์ทางการแต่งกายประจำชาติ  มาจนทุกวันนี้

ชุดสตรีไทยพระราชนิยม เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของสตรีไทย สวมใส่ในงานพิธีหรืองานพระราชพิธีต่าง ๆ  เป็นชุดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีหลายรูปแบบ อาจตัดเย็บด้วยผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าใยประดิษฐ์ เป็นต้น อาจตกแต่งให้สวยงามด้วยการปักมุก เลื่อม และลูกปัด เป็นต้น

ชุดสตรีไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 แบบ ดังนี้ ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทย

บรมพิมาน ชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยจักรี ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยศิวาลัย และชุดไทยดุสิต

ปัจจุบัน ได้มีการออกแบบชุดไทยพระราชนิยมหลากหลายรูปแบบและสไตล์ ที่มีความสวยงาม และเอื้อประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกันไป

#ผ้าไหม หมายถึง ผ้าทอจากเส้นด้ายที่ได้จากใยของตัวไหม

#ผ้าฝ้าย หมายถึง ผ้าทอจากเส้นด้าย ทีได้จากใยของฝ้าย

#ผ้าใยประดิษฐ์ หมายถึง ผ้าที่ได้จาก การสังเคราะห์ เช่น ผ้าพอลิเอสเทอร์ ผ้าเรยอน ผ้าเจอร์ซี่ ผ้าโทเร

ข้อมูลอ้างอิง : กรมหม่อนไหม

https://qsds.go.th

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย