ความเชื่อของเทศกาลกินเจ เเละพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม

  • 23/09/2022
  • จำนวนผู้ชม 1,686 คน

สวัสดีค่ะ ลูกเพจที่น่ารักทุกท่าน ใกล้จะเข้าสู่เทศกาลกินเจปี 2565 กันแล้วนะคะ 
ทุกท่านเคยสงสัยกันไหมคะว่า เทศกาลกินเจมีประวัติความเป็นมาและเกี่ยวข้องกับมหาโพธิสัตว์กวนอิมอย่างไร วันนี้แอดมินจะมาเล่าและแก้ข้อสงสัยของทุกท่านกันค่ะ


เทศกาลกินเจ หรือ กินเจ (จีน : 九皇斋节) หรือเรียกอีกแบบว่า ประเพณีถือศีลกินเจ สำหรับปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ก.ย.- 4 ต.ค. 2565 กำหนดเอาตามวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นโดยชาวเปอรานากันในประเทศมาเลเซียและทางภาคใต้ของประเทศไทย (ไม่ใช่ของชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหมด) ปัจจุบัน เทศกาลกินเจถูกจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์  มาเลเซีย  และไทย  ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซีย และอาจมีในบางประเทศเอเชีย ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยานั่นเองค่ะ
ส่วนความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับมหาโพธิสัตว์ในไทยนั้น น่าจะเป็นความเชื่อกันตามชาวจีนที่เข้ามา
ตั้งรกรากในไทย โดยนำความเชื่อเรื่องการนับถือเจ้าแม่กวนอิมเข้ามาด้วย เนื่องจากมหาโพธิสัตว์กวนอิม
เป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตากรุณา การกินเจจึงเป็นการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์เพื่อเป็นการสักการะบูชาแก่พระพุทธเจ้าและมหาโพธิสัตว์กวนอิมไปด้วยในคราวเดียว...คนที่กินเจจะต้องกินอาหารที่ปรุงขึ้นโดยไม่มีเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่น นม ไข่ น้ำผึ้ง น้ำปลา เจลาติน และคอลลาเจน เป็นต้น รวมทั้งไม่ปรุงด้วยผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หอม และกุยช่าย เป็นต้น การกินเจ ไม่ใช่เพียงการงดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์  แต่ต้องรักษาศีล ตั้งจิตใจให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ จึงเกิดเป็นบุญกุศลที่แท้จริงและความเป็นมงคลต่อทุกท่านค่ะ


#อย่าลืมร่วมถือศีลกินเจในปีนี้ไปด้วยกัน อิ่มท้อง อิ่มใจ แถมยังได้บุญ  

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย