“ประเพณีลอยโขมด” ศิลปะเเละวัฒนธรรมไทย

  • 03/11/2022
  • จำนวนผู้ชม 1,110 คน

สวัสดีค่ะ  ลูกเพจที่น่ารักทุกท่าน อีกไม่กี่วันก็จะเป็นวันลอยกระทงกันแล้วนะคะ วันนี้แอดมินขอมาเล่าถึงอีกประเพณีหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีลอยกระทงก็คือ "ประเพณีลอยโขมด” นั่นเองค่ะ 

“ประเพณีลอยโขมด” หรือ "ลอยไฟ” ภายหลังเรียกกันว่า "ลอยสะเปา” คือ ลอยสำเภา หมายถึง ลอยกระทงขนาดใหญ่ที่ทำด้วยกาบกล้วย ทำเป็นทรงกระโจมสำหรับใส่สิ่งของต่างๆลอยไปตามแม่น้ำในเวลากลางคืนพร้อมทั้งจุดเทียนไปในกระทงนั้นด้วย ทำให้เกิดแสงแวววาวกระทบกับผิวน้ำในคืนวันเพ็ญคล้ายกับดวงไฟของผีโขมด  ซึ่งผีโขมดนี้ เป็นชื่อเรียก ผีป่า ที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือ ชาวล้านนา จึงเรียกว่า ลอยโขมด ก่อนถึงวันงานชาวบ้านจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือน ประดับหิ้งบูชาพระด้วยดอกไม้พร้อมกับจัดเตรียมประทีปหรือเทียนจุดบูชา ตามบ้านเรือนและวัดต่างๆ ก็จัดตกแต่งสถานที่ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว และธงทิว มีการนำโคมไฟไปตั้งหรือแขวนประดับตามอาคารและสถานที่ต่างๆ ภายในวัดมีการทำบุญนำภัตตาหารไปถวายพระ มีการฟังเทศน์มหาชาติแบบพื้นเมืองที่เรียกว่า "การตั้งธรรมหลวง” ตลอดทั้งคืน อีกทั้งยังมีการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระจุฬามณีอีกด้วย สำหรับประเพณีลอยโขมดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่จัดขึ้นประจำทุกปีของชาวบ้านต้นธง ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูนนั่นเองค่ะ

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย