กองสำริด ศิลปะเเละวัฒนธรรมเวียดนาม

  • 24/11/2022
  • จำนวนผู้ชม 595 คน

สวัสดีค่ะ ลูกเพจที่น่ารักทุกท่าน  วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโบราณวัตถุของประเทศเวียดนาม  ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องดนตรี แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อประกอบจังหวะเพื่อความบันเทิง นั่นก็คือ

“กลองสำริด” หรือ “กลองมโหระทึก”  นั่นเองค่ะ

“กลองมโหระทึก”  ถูกค้นพบบริเวณลุ่มแม่น้ำแดง ในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม คาดว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 2-3 (ราว พ.ศ. 100-300 ประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว) ลักษณะเป็นกลองหน้าเดียว รูปทรงกระบอก ตรงกลางคอดเล็กน้อย มีหูหล่อติดข้างตัวกลอง 4 คู่ สำหรับร้อยเชือกหามหรือแขวนกับหลัก ลวดลายบนกลองแสดงรูปคน สัตว์ สิ่งของ ชีวิตความเป็นอยู่ กิจกรรม และพิธีกรรม รวมถึงลวดลายเลขาคณิต เป็นวัฒนธรรมที่แฝงประเพณีความเชื่อเรื่องการเพาะปลูก บ่งบอกถึงการเป็นตัวแทน และเป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม ลวดลายบางภาพเป็นหลักฐานถึงร่องรอยความเชื่อของผู้คนในยุคนั้น บางกลุ่มชนในปัจจุบัน ยังมีพิธีกรรมตีกลองสำริด เพื่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอฝนและเฉลิมฉลอง เป็นต้น

กลองมโหระทึกนี้มักเรียกแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบและความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น เช่น ภาคเหนือของประเทศไทย และในประเทศพม่าเรียกว่า ฆ้องกบหรือฆ้องเขียด เพราะมีรูปกบหรือเขียดปรากฏอยู่บนหน้ากลอง กลองมโหระทึกเป็นวัฒนธรรมร่วมที่พบในพื้นที่ต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า เวียดนาม ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย