“ทฤษฎีใหม่” 

  • 17/01/2023
  • จำนวนผู้ชม 1,919 คน

“ทฤษฎีใหม่” 

ทฤษฎีเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรน้ำ  ที่ดิน  พันธุ์พืช  สำหรับการอุปโภคและบริโภค เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง ทฤษฎีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระวินิจฉัย ค้นคว้า สำรวจ รวบรวมข้อมูล และสรุปเป็นแนวทางพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองโดยการผสมผสานกิจกรรมพืช สัตว์ และประมง ให้มีความหลากหลายนานาพันธุ์เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน

 อุทยานหลวงราชพฤกษ์จังหวัดเชียงใหม่เรา ได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยใช้หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ จัดแสดงให้สามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป โดยวันนี้ราชพฤกษ์ สคูลเราจะพูดถึงทฤษฎีใหม่ขั้นต้นการจัดสรรที่อยู่อาศัยและทำกินให้สามารถเข้าใจได้ง่าย กันค่ะ 

“ การผลิตเป็นการผลิตให้พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังให้พอ มีกินไม่อดอยาก” (พระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗)

โดยให้แบ่งพื้นที่ของเกษตรกรไทยที่มีเนื้อที่ถือครองเฉลี่ย ๑๐ - ๑๕ ไร่/ ครอบครัว โดยแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ แหล่งน้ำ : นาข้าว : พืชผสมผสาน : โครงสร้างพื้นฐานในอัตราส่วน ๓๐ : ๓๐ : ๓๐ : ๑๐ ดังนี้

- ส่วนแรก ร้อยละ ๓๐ ให้ขุดสระกักเก็บน้ำใน ฤดูฝน เพาะปลูกและเสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งได้ ตลอดปี ทั้งยังใช้เลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ และพืชริมสระ เพื่อการบริโภคและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง หนึ่ง โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่าต้องการ น้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดย ประมาณ และบนสระน้ำสามารถสร้างเล้าไก่ เล้าเป็ด และเล้าสุกรเพิ่มด้วยก็ได้

- ส่วนที่สอง ร้อยละ ๓๐ ให้ทำนาข้าว เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีหลักเกณฑ์เฉลี่ยเกษตรกรบริโภคข้าว คนละ ๒๐๐ กิโลกรัมข้าวเปลือก/ปี ซึ่งเพียง พอต่อการบริโภคตลอดปี เพื่อยึดหลักพึ่ง ตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ

- ส่วนที่สาม ร้อยละ ๓๐ ให้ปลูกไม้ผล ไม้ ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้ทำเชื้อเพลิง ไม้สร้างบ้าน พืช ผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อการบริโภคและ ใช้สอยอย่างพอเพียง หากเหลือบริโภคก็นำไป จำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป

- ส่วนที่สี่ ร้อยละ ๑๐ (โครงสร้างพื้นฐาน) เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ เช่น ถนน ลานตาก ฉางข้าว กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะเห็ด พืชผักสวน ครัว เป็นต้น

 สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ของอุทยานหลวงราชพฤกษ์เรา นอกจากจะจำลองการจัดสรรพื้นที่ดังที่กล่าวไปให้เข้าใจได้ง่ายต่อผู้เข้าเยี่ยมชมแล้ว ยังมีองค์ความรู้ที่พร้อมนำเสนอให้ทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยว walk in และกลุ่มคณะที่เข้ารับการเรียนรู้ศึกษาดูงานอีกด้วยค่ะ 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย