ตุง ศิลปวัฒนธรรมกับความเชื่อ

  • 24/04/2023
  • จำนวนผู้ชม 1,481 คน

สวัสดีค่ะ ลูกเพจที่น่ารักทุกท่าน  ผ่านเทศกาลประเพณีสงกรานต์มาแล้ว วันนี้เรามาพูดถึงสิ่งที่เห็นกันเยอะในงานสงกรานต์  หรือเมื่อมีงานปอยหรืองานรื่นเริงที่จัดขึ้นทางภาคเหนือ นั่นก็คือ “ตุง” หรือ ธง ที่มักทำจากผ้า มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแขวนห้อยเป็นแผ่นยาว

ลงมา แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ตุงไม่ได้มีไว้สำหรับปักแค่วันปีใหม่เมืองหรือวันสงกรานต์เท่านั้นนะ

แต่ยังนิยมนำไปใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ อีกด้วยนะ 

“ตุง” เป็นภาษาถิ่นทางภาคเหนือหมายถึง “ธง” ที่ใช้สำหรับแขวนแบบหนึ่ง สามารถพบได้มาก

ในภาคเหนือของเทศไทย โดยคนภาคเหนือจะนำตุงมาใช้เป็นเครื่องประดับหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทั้งใช้ในงานทางพิธีทางศาสนา ประเพณี งานเทศกาลหรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ วัตถุที่นำมาทำตุงในล้านนา

มีหลากหลายรูปแบบ ลักษณะที่เป็นแผ่นนั้นวัตถุทำจากผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ทองเหลือง หรือใบลาน

โดยนำไม้ส่วนปลายแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตุงมีขนาดรูปทรงและรายละเอียดแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน ในปัจจุบันการแบ่งประเภทของตุงมักอ้างอิงตามพิธีกรรมที่จะใช้งานดังนี้

1 ตุงที่ใช้ในงานมงคล ได้แก่ ตุงไชย ตุง 12 ราศี ตุงค่าคิง ตุงพระบฎ

2 ตุงที่ใช้ในงานอวมงมล ได้แก่ ตุงแดง ตุงเหล็กตุงตอง

3 ตุงที่ใช้ในงานมงคลและอวมงคล ได้แก่ ตุงไส้หมู ตุงกระด้าง ตุงสามหาง

 ตุงเหล่านี้มีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกัน ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อของชาวล้านนาที่มีสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่ในอดีต และปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ เนื่องจากมักนิยมใช้ตุงประดับสถานที่จัดงานเพื่อความสวยงาม ตุงถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตามความเชื่อถือของท้องถิ่น ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ควรแก่การรักษา และการอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานเรียนรู้สืบไป 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย