จากคราบจักจั่นสู่ยาตำราจีน

  • 24/04/2023
  • จำนวนผู้ชม 848 คน

สวัสดีค่ะ  วันนี้แอดมินจะมาเล่าเกร็ดความรู้อีกมุมนึงของ “จักจั่น” สัญลักษณ์ของฤดูร้อน แมลงที่ส่งเสียงดังกังวานอยู่ตอนนี้เลย และก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอเกี่ยวกับธรรมชาติพยากรณ์ ว่าทำไมเสียงของจักจั่นถึงบ่งบอกว่าฤดูร้อนมาถึงแล้ว  รวมถึงวงจรชีวิตของจักจั่น ซึ่งย้อนกลับไปอ่านได้ที่

ธรรมชาติพยากรณ์ ตอน..เสียงจักจั่น https://www.facebook.com/.../a.113386100.../308863660705451/

 แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง “คราบของจักจั่น” ที่ถูกใช้เป็นยาตามตำราจีน ซึ่งก่อนหน้าที่เราจะได้ยินเสียงกังวาน เรามักจะพบคราบตัวอ่อนของจักจั่นที่คลานโผล่ขึ้นมาจากใต้ดินมาเกาะตามต้นไม้จำนวนมาก ทิ้งคราบสุดท้ายของร่อยรอยวัยตัวอ่อน และก้าวเข้าสู่ตัวเต็มวัย มีปีกสีใส พร้อมบินออกไปส่งเสียงจับคู่ผสมพันธุ์  คราบนี้ในตำรายาจีนเรียกว่า "ฉานทุ่ย" หรือ "ฉานอี" (蝉蜕、蝉衣)แปลว่า เสื้อผ้าของจักจั่น จักจั่นมีชีวิตคลุกคลีอยู่กับต้นไม้ซึ่งเป็นธาตุไม้และคลุกในดินเป็นธาตุดิน ชีวิตของเค้าจึงซึมซับธาตุไม้กับดิน ในทางแพทย์แผนจีนเองธาตุไม้เป็นตัวแทนของระบบตับ มีสรรพคุณขจัดลมร้อน กระจายลมปราณปอด  รักษาไข้หวัดที่เกิดจากลมร้อน เจ็บคอ ไอ โดยเฉพาะหวัดลงคอทำให้เสียงหายหรือแหบ กระทุ้งหัดและผื่น แก้ลมพิษแบบที่มีสีแดงและมีอาการคัน แก้ตาแดง ทำให้ตาสว่างสดใส หยุดอาการชักเกร็ง รักษาเด็กที่เป็นลมชัก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งมุมที่ผลผลิตจากธรรมชาติ อย่างคราบจักจั่น ที่หลายท่านรวมถึงแอดมินเองก็ยังไม่คิดว่าจะใช้ประโยชน์ได้  ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในทางการแพทย์แผนจีน 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย