หอคำหลวง พระราชวังล้านนา

  • 22/05/2023
  • จำนวนผู้ชม 867 คน

สวัสดีค่ะ  ลูกเพจที่น่ารักทุกท่าน หลายท่านอาจทราบกันแล้วว่าหอคำหลวงภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ สร้างขึ้นเพื่อจัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตรของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักการเกษตรเอกของโลก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาแล้วนั้น

แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่า หอคำหลวงแห่งนี้ได้แนวคิดมาจากสถานที่ไหน วันนี้แอดมินจะขอมาเล่าให้ทุกท่านฟังกันค่ะ 

 หอคำหลวง ได้แนวคิดมากจาก หอคำ หรือ คุ้มหลวง ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญสูงสุดของสถาบันกษัตริย์  ในล้านนา เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอำนาจ ใช้เป็นที่ว่าราชการ และประกอบพระราชพิธีสำคัญๆ มีลักษณะเป็นอาคารยกพื้นสูงมีใต้ถุน ขนาดใหญ่กว่าเรือนพักอาศัยของประชาชนทั่วไป เน้นความแข็งแรงและความงามสง่า ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นวัสดุหลัก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องแป้นเกล็ดหรือดินขอ ในสมัยล้านนา เน้นองค์ประกอบประดับตกแต่งคุ้มหลวงให้สวยงามเป็นพิเศษ เช่น ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง หลังคา

หน้าบัน รวมทั้งมีการจัดระบบเสาและโครงสร้างหลังคาแบบ “ม้าต่างไหม” ในอดีต กษัตริย์ล้านนานิยมการบริจาคหรืออุทิศที่ดินและคุ้มหลวงให้กับวัด ดังนั้นคุ้มหลวงแบบล้านนาที่ยังคงพบได้ในปัจจุบัน เช่น หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5) ซึ่งได้ถูกรื้อย้ายดัดแปลงไปเป็นวิหารที่วัดพันเตา 

ฉะนั้นแล้ว หอคำหลวง จึงมิใช่แค่สถานที่จัดแสดงพระอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเพียงอย่างเดียวหากแต่ยังมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่คเอกลักษณ์ของล้านนาไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย