วันชนเผ่าสากล

  • 28/07/2023
  • จำนวนผู้ชม 1,970 คน

หากเราจะพูดถึงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และประเพณีที่มีความหลากหลาย  จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 727 ปี อีกทั้งยังมีความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสู่งานหัตถกรรมที่มีคุณค่า  รวมทั้งมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมโดดเด่นมีทรัพยากรองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น มีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมมาแต่ช้านาน

ปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรกว่า 1.79 ล้านคนซึ่งร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดเป็น “กลุ่มชาติพันธุ์” โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

- กลุ่มพื้นที่สูง : กะเหรี่ยง (ปกาเกอญอ) ม้ง (แม้ว) ลาหู่ (มูเซอ) ลีซู (ลีซอ) อาข่า(อีก้อ) จีนฮ้อ ปะหล่อง (ดาราอั้ง) ลั๊วะ (ละว้า) เมี่ยน (เย้า) คะฉิ่น

- กลุ่มพื้นที่ราบ : ไทยวน (คนเมือง) ไทใหญ่ (ไตใหญ่) ไทเขิน (ไตเขิน) ไทลื้อ (ไตลื้อ) ไทยอง (ไตยอง)

ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทั่วทุกภาค ทั้งที่เป็นชาวเขาบนภูเขาในภาคเหนือหรือชาติพันธุ์ในพื้นราบที่ยังคงเอกลักษณ์ทางภาษา การสืบทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วมที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการรวมตัวกันของชนเผ่าพื้นเมืองจากทุกภูมิภาคเป็นครั้งแรกในนามของ “เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)” พร้อมกับประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ และให้ความสำคัญกับวันนี้ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา

โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้ทุกวันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็น  “วันชนเผ่าสากล” เพื่อเป็นการเสริมสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับชนเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์และบทบาทของชุมชนเผ่าในการพัฒนา และแสดงคุณค่าเอกลักษณ์วัฒนธรรมของตนเองเป็นเสน่ห์ที่ไม่สามารถลอกเลียนได้นั่นเองค่ะ 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย