“เรือนกาแล”

  • 25/09/2023
  • จำนวนผู้ชม 1,857 คน

วันนี้แอดมินจะพาไปทำความรู้จักกับ “เรือนกาแล” หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งภูมิปัญญาล้านนา ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมล้านนา “เรือนกาแล” เป็นเรือนพักอาศัยทั่วไปที่มีความคงทน มียอดจั่วเป็นกากบาท มีทั้งไม้ธรรมดาและไม้แกะสลักอย่างงดงามตามฐานะ นิยมมุงหลังคาด้วยแผ่นไม้เรียก “แป้นเกล็ด” แต่ปัจจุบันไม้เป็นวัสดุหายากและมีราคาแพงจึงเปลี่ยนมาใช้ “ดินขอ” มุงหลังคาแทน เรือนกาแลส่วนใหญ่

เป็นเรือนแฝด มีขนาดตั้งแต่ 1 ห้องนอนขึ้นไป ใช้วัสดุอย่างดี ใช้ช่างฝีมือสูงและประณีต มีแบบค่อนข้างตายตัว

 ส่วนคำว่า “กาแล” มีข้อสันนิษฐานดังนี้

คำว่า “กาแล” อาจจะเพี้ยนมาจากคำ “กะแลง” ซึ่งมีความหมายว่า ไขว้กันอยู่

 รูปลักษณะอาจพัฒนามาจากแต่เดิมที่เป็นเรือนไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบตองตึง (ใบพลวง) ซึ่งต้องมีไม้ปิดหัวท้ายตรงสันหลังคาตอนหน้าจั่ว เมื่อพัฒนาเป็นเรือนไม้จริงมุงด้วยกระเบื้องดินขอ การใช้ไม้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมไขว้กันแบบธรรมดาคงไม่เกิดความงาม จึงคิดประดิษฐ์การแกะสลักปลายไม้ ให้เกิดความอ่อนโค้งงดงาม

 อาจได้รับอิทธิพลมาจากชาวพื้นเมืองเดิม คือ พวกลัวะ (ละว้า) ซึ่งเรือนแบบดั้งเดิมของพวกลัวะ

จะมีการใช้กาแลนี้ประดับ โดยแต่ละแห่งจะแกะสลักลวดลายเฉพาะอย่าง เป็นเครื่องหมายบอกถึงเชื้อตระกูล ชาวล้านนา (โดยเฉพาะเชียงใหม่) อาจจะรับรูปแบบมาแล้วพัฒนาเป็นรูปแบบของตนเองในภายหลัง

อาจทำไว้ให้มีความหมายเพื่อเป็นสิริมงคล หรือทำไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แร้ง กา มาเกาะหลังคา (ซึ่งถือว่าเป็นเสนียดอัปมงคล) นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องแสดงบอกฐานะของเจ้าของเรือนด้วย

ในปัจจุบัน เรือนกาแลหาพบได้ยากมากขึ้น ส่วนมากจะพบในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน และตากบางส่วน หากท่านใดสนใจเรือนกาแล สามารถมาเที่ยวชมได้ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ในส่วนจัดแสดงเรือนไทย 4 ภาค นอกจากจะได้ชมเรือนกาแลแล้ว

ยังสามารถชมการจำลองบ้านทรงไทยตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดของภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทั้ง 4 ภาคอีกด้วยนะคะ

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย