โครงสร้างจิ๋ว ของพรรณไม้ดักฝุ่น

  • 19/03/2024
  • จำนวนผู้ชม 72 คน

ในสถานการณ์ที่ PM 2.5 รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเราแบบนี้  การสร้างพื้นที่สีเขียว  ช่วยได้อย่างไร 

เมื่อเราจำเป็นต้องออกไปทำภารกิจนอกบ้าน  หน้ากากอาจเป็นตัวช่วยได้  แต่เมื่ออยู่บ้านหรือเคหสถาน การสร้างพื้นที่สีเขียว หรือการเลือกปลูกต้นไม้ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ที่บรรเทาความหนาแน่นของฝุ่น อีกทั้งยังช่วยให้ผ่อนคลาย สบายตา ส่งผลดีต่อจิตใจในช่วงเวลาที่บรรยากาศรอบตัวขุ่นมัวราวกับฉาบด้วยฟิลเตอร์สีเทาๆ ของฝุ่นละอองในช่วงนี้ได้ วันนี้เพจราชพฤกษ์ สคูลเรามีเกร็ดความรู้ดีดีมาฝากทุกท่านกันค่ะ ว่า

▪️ ต้นไม้ลดฝุ่นได้อย่างไร 

▪️ โครงสร้างเล็กจิ๋วของพรรณไม้ดักฝุ่น 

▪️ ต้นไม้อะไรบ้างที่น่าปลูกเพื่อลดฝุ่น

ด้วยธรรมชาติของต้นไม้สามารถซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนเป็นก๊าซออกซิเจน เสมือนกับเป็นเครื่องกรองอากาศอย่างที่เราทราบกันดีแล้ว ยังมีสารพิษปนเปื้อนในอากาศอีกหลายชนิด ตลอดจนฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ต้นไม้ดูดซับหรือดักจับได้ ดังนั้นจึงอนุมานได้ว่าไม่ว่าต้นไม้ชนิดใดก็สามารถดักจับฝุ่นละอองในอากาศได้ส่วนหนึ่ง

โดยเฉพาะ  ต้นไม้บางชนิดที่มีโครงสร้างพิเศษที่ช่วยดักฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าต้นไม้ชนิดอื่นๆ โครงสร้างที่พูดถึงนี้ คือ ขน (trichome) ต้นไม้หลายชนิดมีขนที่เกาะแน่นบริเวณผิวของใบ หรือลำต้น ทำให้ฝุ่นเกาะค้างอยู่ และจะถูกชะออกไปเมื่อฝนตกหรือเมื่อเรารดน้ำชะล้างออกไป ต้นไม้ที่มีโครงสร้างดักฝุ่นแบบนี้มีหลายชนิด เช่น ต้นหงส์ฟู่ ต้นหอมหมื่นลี้ ต้นรวงผึ้ง เคราฤาษี ต้นแปรงล้างขวด ชาฮกเกี้ยน ต้นตีนตุ๊กแก เป็นต้น

ดังนั้น ต้นไม้หลายชนิดจึงถูกเลือกนำไปปลูกในแต่ละพื้นที่เพื่อลดฝุ่น ไม่ว่าจะเป็น เขตเมือง  พื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น  ตลอดจนอาคารบ้านเรือน

นอกจากนี้จากข้อมูลของสำนักวิจัยอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกล่าวว่ามลพิษเมื่อไหลผ่านเรือนยอดของต้นไม้แล้วยังสามารถลดฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 10-50% และทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นลดลง 0.4-3 องศา  ประโยชน์มากมายอเนกประสงค์แบบนี้ เรามาหาต้นไม้ปลูก เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ที่ดีต่อปอด ดีกับใจกันค่ะ 

มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย