ทับทิม

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : ทับทิม
ชื่อท้องถิ่น : พิลา (หนองคาย)/ พิลาขาว, มะก่องแก้ว (น่าน)/ มะเก๊าะ (เหนือ) 
ชื่อสามัญ : Pomegranate
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L. granatum
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

เป็นไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่งยาว เปลือกต้นสีเทาค่อนข้างเรียบ กิ่งเล็กมักเปลี่ยนรูปเป็นหนามแหลม

ใบ :

เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนแคบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ใบอ่อนสีแดง  

ดอก :

ออกดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-5 ดอก ตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีส้มแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเป็นแฉกแหลม 6 แฉก สีส้มแกมเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ เกสรเพศเมียและเพศผู้ร่วงง่าย  

ผล :

รูปทรงค่อนข้างกลม เปลือกหนาเกลี้ยง สีเหลืองปนน้ำตาล ปลายผลเป็นแฉกจากกลีบเลี้ยงของดอก เมื่อผลแก่มีสีแดงเรื่อ เมล็ด จำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดใสสีชมพูสด รสหวานอมเปรี้ยว

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : สิ้นสุดระยะติดดอก :
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด ตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปไปจนถึงแถบเทือกเขาหิมาลัย การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - เปลือกผลแก่ ตากแห้งรักษาอาการท้องร่วง ฝนกับน้ำข้น ๆ กินวันละ 1-2 ครั้ง กินมากเป็นอันตรายได้ หรือฝนกับน้ำทาแก้น้ำกัดเท้า - ราก ใช้ฆ่าพยาธิตัวตืด - น้ำทับทิม(จากเนื้อหุ้มเมล็ด) ใช้ลดความดันโลหิต ใช้ร่วมกับบัวบก ลดภาวะโรคเหงือก [1] - เมล็ดรับประทานได้ - ใช้ยอดอ่อนประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา [2] - เปลือกรากนำมาตากแห้งต้มน้ำกินเป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด - เปลือกต้นมีแทนนินและกรดกลูโลแทนนิก (glullotannic acid) มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง ช่วยถ่ายพยาธิ แต่ไม่ควรกินในปริมาณมาก เพราะจะทำให้เวียนศีรษะ คลื่นไส้และใจสั่น - เปลือกผลสดๆ มาต้มกับน้ำ 1 แก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย ใช้อมกลั้วคอตอนเช้าและก่อนนอน ช่วยแก้ปวดฟัน เหงือกบวม และเจ็บคอ หรือบดเป็นผลต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสียและบิดเรื้อรัง หรือผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก หรือใช้ทาแก้น้ำกัดเท้า - ยอดใบสดนำมาต้มน้ำ 2 แก้ว ร่วมกับกะเพราอย่างละ 7 ยอด ใช้ดื่มแก้ท้องร่วงได้ - น้ำคั้นจากเนื้อผลช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกาย ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ที่กำลังฟื้นไข้ แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน ช่วยบำรุงสายตา หัวใจ ไต และลดความดันโลหิต ดื่มหลังอาหาร ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อได้ - เมล็ด บดให้ละเอียดกินแก้ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะ [3]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [3] อุไร จิรมงคลการ. 2547. ผลไม้ในสวน. Fruits. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : สวนสมุนไพร
Zone C1 : สวนพฤกษศาสตร์
Zone C1 : สวนอยุธยา
Zone C1 : สวนฉะเชิงเทรา
Zone C1 : สวนธกส.
Zone C1 : สวนไม้ผล
Zone C2 : สวนญี่ปุ่น
Zone C2 : สวนตุรกี
Zone C2 : สวนภูฏาน
Zone C2 : สวนโมร็อคโค
Zone C2 : สวนอิหร่าน
Zone C2 : สวนมูลนิธิโครงการหลวง
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย