จามจุรี

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : จามจุรี
ชื่อท้องถิ่น : ก้ามกราม(กลาง)/ ก้ามกุ้ง(กทม.,อุตรดิตถ์)/ ก้ามปู(กทม.,พิษณุโลก)/ จามจุรี(กทม.,ตราด)/ ฉำฉา(กลาง,เหนือ) / ตุ๊ดตู่(ตราด)/ ลัง, สารสา, สำสา(เหนือ) 
ชื่อสามัญ : East Indian walnut/ Rain tree/ Monkey Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacq.) Merr.
ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ

ใบ :

ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2-10 คู่ ใบรูปไข่รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบบิดเบี้ยว ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ไม่มีก้านใบย่อย

ดอก :

สีเหลืองปนเขียว กลีบเลี้ยง 7-8 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดเป็นถ้วย ปลายแยก 5 แฉกเป็นรูปแตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวโผล่พ้นกลีบดอก สีชมพูอ่อน บริเวณโคนมีสีขาว ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3 ซม. ช่อดอกรวมบานเต็มที่กว้าง 5-6 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก

ผล :

เป็นฝักแห้ง รูปขอบขนาน สีน้ำตาลดำ กว้าง 1.5-2.4 ซม. ยาว 15-20 ซม. คอดเป็นตอนระหว่างเมล็ด  เมล็ด แบนสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน กว้าง 6 มม. ยาว 10 มม.

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : สิงหาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : กันยายน
เริ่มติดผล : ตุลาคม สิ้นสุดระยะติดผล : ธันวาคม
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้เขตร้อน การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ เจริญเติบโตเร็วและแข็งแรง เหมาะสำหรับการสร้างพื้นที่สีเขียวได้เร็ว ใบแห้งเป็นส่วนผสมของดินปลูกที่ดีที่สุด
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง เพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - เปลือกต้นป่นละเอียดเป็นยาสมานแผล - เปลือกต้นและเมล็ดรักษาอาการบิด ท้องเสีย [1] - เนื้อไม้ใช้ในงานแกะสลัก ทำเครื่องใช้ เครื่องเรือนต่างๆ [1], [2] - ใบแก้ปวดแสบปวดร้อน - เมล็ดแก้โรคผิวหนังเปลือกสมานแผลในปากคอ แก้ท้องร่วง - ฝักแก่เป็นอาหารสัตว์ [2]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [2] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [3] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone B : ลานริมน้ำ และTo Sit
Zone B : สวนไม้ประจำจังหวัด
Zone C1 : สวนกรุงเทพฯ
Zone C2 : สวนมอริเตเนีย
Zone C2 : สวนแอฟริกาใต้
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย