ชื่อไทย : | กระท้อน | ||||||||
ชื่อท้องถิ่น : | เตียน, ล่อน(ใต้)/ มะต้อง(เหนือ,อุดรธานี)/ มะติ๋น(เหนือ) / สะท้อน(ใต้,อุบลราชธานี) | ||||||||
ชื่อสามัญ : | Sentul/ Santol/ Red sentol/ Yellow sentol | ||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. | ||||||||
ชื่อวงศ์ : | MELIACEAE | ||||||||
ลักษณะวิสัย : | ไม้ยืนต้น | ||||||||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : |
ลำต้น : เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ดใหญ่หรือเป็นปุ่มปม โคนต้นแก่เป็นพูพอน ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่หรือรูปรีค่อนข้างกลม กว้าง 5-11 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีขนตามเส้นใบใบอ่อนมีขนสีเหลือง ใบแก่สีแดง ก้านใบย่อยปลายสุดยาว 2.5-5 ซม. ก้านใบย่อยคู่ล่างยาว 2-8 มม ดอก : ดอกสีเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้มี 10 อัน ติดกันเป็นหลอด ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวถึง 15 ซม. ทยอยบานนาน 7-10 วันจึงโรยและเริ่มติดผล ผล : กลมแป้น ขนาด 5-8 ซม. หรือมีขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เซนติเมตร ผิวเป็นกำมะหยี่สีเหลืองอมส้ม ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เนื้อแข็งด้านนอก และด้านในเนื้อนุ่มเป็นปุยสีขาวที่หุ้มเมล็ดไว้ เปลือกหนา มียางสีขาวเล็กน้อย ผลสุกสีเหลืองนวล ผิวเริ่มย่น เมล็ด เมล็ดมี 3-5 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุยสีขาวมีรสเปรี้ยวหรือหวาน |
||||||||
ระยะติดดอก - ผล : |
|
||||||||
สภาพทางนิเวศวิทยา : | นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย ถิ่นกำเนิด เขตร้อนแถบมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดียและไทย การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ | ||||||||
การปลูกและการขยายพันธุ์ : | ทนทานสภาพแห้งแล้วได้ดี ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด | ||||||||
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : | - เปลือกต้น มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย - เปลือกลูก มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด เป็นยาสมาน - ใบ มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด ใช้ต้มอาบแก้ไข้ ใช้ขับเหงื่อ [1] - ราก มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด [1], [2] - ปรับปรุงเป็นไม้ผลหลายพันธุ์ เนื่องจากเนื้อมีรสหวาน ผลใหญ่รับประทาสดหรือยังนำมาทำอาหารคาวหวาน [2] - เป็นผลไม้ที่ให้คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม วิตามินซี และใยอาหารสูง แต่ผู้เป็นโรคไตไม่ควรกินมาก - รากนำมาตำใส่น้ำและน้ำส้มสายชูดื่ม ช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้บิด ช่วยขับลม - เปลือกต้นนำมาต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง หรือดื่มแก้พิษงู แก้ท้องเสีย ใบแก้ไข้ - ผลแก้บวมและขับพยาธิ [3] - เนื้อไม้แข็งและมีคุณภาพดี จึงใช้สร้างบ้านหรือทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ [2], [3] | ||||||||
แหล่งอ้างอิง : | [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [3] อุไร จิรมงคลการ. 2547. ผลไม้ในสวน. Fruits. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. | ||||||||
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : | ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์ | ||||||||
ที่อยู่ : |
|
||||||||
หมายเหตุ : |