โสก

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : โสก
ชื่อท้องถิ่น : ชุมแสงน้ำ(นราธิวาส,ยะลา)/ ส้มสุก(เหนือ)/ โสก(กลาง)/ โสกน้ำ(สุราษฎร์ธานี) 
ชื่อสามัญ : Asoka/ Asoke Tree/ Saraca
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca indica L.
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมพุ่มทึบ ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้น

ใบ :

ประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ยาว 10-50 ซม. ใบย่อย 1-7 คู่ เรียงสลับ ใบรูปรีแกมรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-10 ซม. ยาว 5-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน รูปลิ่มหรือรูปหัวใจ แผ่นใบหนาและนิ่มสีขาวห้อยย้อยลง เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-3 มม.

ดอก :

สีส้มหรือแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาวประมาณ 1-2 ซม. บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายมนสีส้มหรือแดง ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 6-8 อัน อับเรณูสีม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่ปลายกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.2-1.5 ซม. มีกลิ่นหอม

ผล :

เป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน กว้าง 2-6 ซม. ยาว 6-30 ซม. ฝักแก่จะแตก 2 ด้าน  เมล็ด รูปไข่แบนมี 1-3 เมล็ด

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มกราคม สิ้นสุดระยะติดดอก : กุมภาพันธ์
เริ่มติดผล : มีนาคม สิ้นสุดระยะติดผล : เมษายน
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบอยู่ริมน้ำตามป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของไทยขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ถิ่นกำเนิด ไทย ลาว ทางใต้ของเวียดนาม และทางแถบหมู่เกาะสุมาตรา การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ควรปลูกริมน้ำเพื่อเป็นฉากหลังของพื้นที่หรือให้ร่มเงาเป็นกลุ่ม ดอกสีสดใส
การปลูกและการขยายพันธุ์ : เจริญเติบโตได้ดีตามริมน้ำ แสงแดดจัด เพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - ดอกบำรุงธาตุแก้ไอและขับเสมหะ [1] - ใบอ่อนและดอกทำแกงส้ม ยำหรือทำผักจิ้มน้ำพริก [1], [2]
แหล่งอ้างอิง : [1] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : สวนป่าเขตร้อน
Zone B : สวนไม้หอม
Zone C1 : สวนพฤกษศาสตร์
Zone C1 : สวนอยุธยา
Zone C1 : สวนการไฟฟ้า
Zone C1 : สวนธกส.
Zone C2 : สวนภูฏาน
Zone C2 : สวนอินโดนีเซีย
Zone C2 : สวนมูลนิธิโครงการหลวง
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย