สัก

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : สัก
ชื่อท้องถิ่น :
ชื่อสามัญ : Teak  
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f.
ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปกลมหรือไข่ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเรียบหรือล่อนออกเป็นแถบชื้นตามยาว กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลืองรูปดาว

ใบ :

เดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่กลับกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 12-35 ซม. ยาว 15-75 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสากด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 9-14 เส้น ก้านใบยาว 1-5 ซม.

ดอก :

ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ กลีบดอกรูปกรวยปลายแยกเป็น 6 กลีบ แผ่บานโค้งไปด้านหลังมีขน เกสรเพศผู้มี 5-6 อัน เกสรเพศเมียยาวเท่าเกสรเพศผู้มี 1 อัน รังไข่มีขนหนาแน่น

ผล :

แห้งค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อนแกมเหลือง ขนาด 1.5-2 ซม. ประกอบด้วยชั้นของกลีบเลี้ยงที่พองกลมบางคล้ายกระดาษห่อหุ้มเมล็ด  เมล็ด แข็งขนาด 1 ซม. มีขนคล้ายไหมภายในมี 4 ช่อง มี 1 เมล็ด ในแต่ละช่อง

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มิถุนายน สิ้นสุดระยะติดดอก : กรกฎาคม
เริ่มติดผล : สิงหาคม สิ้นสุดระยะติดผล : ตุลาคม
สภาพทางนิเวศวิทยา :
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี เพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - เมล็ด ใช้รักษาโรคตา [1], [3] - เปลือกไม้ บรรเทาอาการบวม ปวดศีรษะ [1], [3] - ใบอ่อนหั่นฝอย ตากหรือคั่วให้แห้ง ชงน้ำดื่มช่วยลดน้ำหนัก [2] - แก่นช่วยขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้ [2], [4] - ไม้สักเป็นไม้ที่มีคุณค่ามาก เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องแกะสลัก ทำเครื่องมือทางการเกษตร [2], [3], [4] - เปลือกรากและใบอ่อนให้สีย้อมสีน้ำตาลเหลือง - หลายส่วนของพืชใช้รักษาระบบปัสสาวะ ถ่ายพยาธิ โรคเบาหวาน เจ็บคอ ประจำเดือนมาไม่ปกติ [3] - แก่นและใบขับลมในลำไส้ รักษาเบาหวาน [4]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [3] มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [5] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : เรือนพืชไร้ดิน
Zone B : สวนไม้วรรณคดี
Zone B : สวนไม้มงคล
Zone B : อาคาร AR-45
Zone C1 : สวนปตท.
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย