รำเพย

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : รำเพย
ชื่อท้องถิ่น : กะทอก, บานบุรี(กทม.)/ แซน่าวา, แซะศาลา, รำพน(เหนือ)/ ยี่โถฝรั่ง(กทม.,กลาง)
ชื่อสามัญ : Trumpet flower/ Lucky Bean/ Lucky Nut/ Trumpet Flower/ Yellow Oleander 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thevetia peruviana (Pers.) K.Schum.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 ม. ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นพุ่ม เรือนยอดทรงกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเป็นพิษ

ใบ :

เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 8-10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้น

ดอก :

ดอกสีเหลือง สีขาวหรือสีส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อย 3-4 ดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 3-4 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ เป็นแฉกคล้ายรูปดาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก เรียงเกยกัน ปลายแหลม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ผล :

รูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 ซม. เป็นสันหนา มีรอยผ่ากลางเป็นแนวยาว ผิวเรียบ สีเขียว สุกเป็นสีดำ ซึ่งเป็นพิษทั้งผล เมล็ด มี 1-2 เมล็ด

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : สิ้นสุดระยะติดดอก :
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เขตร้อนของอเมริกา การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ : เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทราย ทนแล้ง เหมาะจะปลูกเป็นแนวเพื่อบังสายตา หรือปลูกในที่ต้องการการดูแลรักษาต่ำ เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - ใบ มีรสเอียนเมา เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน และใช้รักษาโรคเอดส์ - เมล็ด มีรสเมาเบื่อ ใช้เล็กน้อยเป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้มากเป็นพิษทำให้หัวใจเป็นอัมพาตลำไส้เล็กบีบตัว ตัวเย็นลงถึงตายได้ - เปลือกต้น มีรสอมเอียน แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาถ่าย - ต้น มีรสเอียนเมา แก้โรคผิวหนัง ข้อควรระรัง เมล็ดและยางมีพิษมาก เมื่อกินเข้าไปถึงตาย ได้ [1]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : สวนสมุนไพร
Zone B : สวนไม้เสียบยอด
Zone B : สวนรัตติกาล
Zone C1 : สวนกรุงเทพฯ
Zone C1 : สวนปตท.
Zone C1 : สวนโยโยต้า
Zone C2 : สวนอินโดนีเซีย
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย