รางจืด

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : รางจืด
ชื่อท้องถิ่น : กำลังช้างเผือก, น้ำนอง(กลาง,เหนือ)/ ขอบชะนาง, เครือเขาเขียว, ยาเขียว(กลาง)/ คาย(ปัตตานี,เหนือ)/ ดุเหว่า(ปัตตานี)/ ทิดพุด(นครศรีธรรมราช)/ย่ำแย้(พิษณุโลก,อุตรดิตถ์)/ รางเย็น(ยะลา) / แอดแอ(เพชรบูรณ์) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia laurifolia Limdl.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง ใช้ยอดเลื้อยพัน

ใบ :

เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน ขนาด 4-7x8-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย เส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ

ดอก :

ออกเป็นช่อกระจะห้อยลงตามซอกใบ ช่อละ 3-5 ดอก กลีบประดับรูปท้องเรือสีเขียวเรื่อแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น กลีบดอกสีม่วงอมน้ำเงิน โคนกลีบสีเหลืองอ่อนเชื่อมเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 6-8 ซม.

ผล :

เป็นฝักกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ปลายมีจะงอยยาว 2-3 ซม. เมื่อแก่แตกสองซีก

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : พฤศจิกายน สิ้นสุดระยะติดดอก : มกราคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบทั่วไปตามชายป่าดิบ ป่าละเมาะ ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ : แสงแดดรำไร - จัด เพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] อฤชร พงษ์ไสว. 2541. ไม้เลื้อยประดับ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : สวนสมุนไพร
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย