ชื่อไทย : | ชำมะนาด | ||||||||
ชื่อท้องถิ่น : | ชมนาด, ชำมะนาดกลาง(กลาง) / ชำมะนาดฝรั่ง, ดอกข้าวใหม่ (กทม.) / อ้มส้าย(เหนือ) | ||||||||
ชื่อสามัญ : | |||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Vallaris glabra (L.) Kuntze | ||||||||
ชื่อวงศ์ : | APOCYNACEAE | ||||||||
ลักษณะวิสัย : | ไม้ยืนต้น | ||||||||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : |
ลำต้น : เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เลื้อยได้ไกลถึง 6 เมตร เถากลม สีเขียว ทุกส่วนภายในต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมันก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก : ดอกรูปถ้วยตื้นสีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อละ 15-30 ดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ปลายแฉกแหลม เกสรเพศผู้มี 5 อัน สีขาวติดกัน มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ผล : เป็นฝัก ฝักแห้งแตกออกได้ |
||||||||
ระยะติดดอก - ผล : |
|
||||||||
สภาพทางนิเวศวิทยา : | นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกประดับซุ้ม ให้ร่มเงาเนื่องจากมีใบดก | ||||||||
การปลูกและการขยายพันธุ์ : | ปลูกกลางแจ้งออกดอกดีกว่าปลูกที่แดดรำไร ดินปลูกชื้น ระบายน้ำดี เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือตัดกิ่งปักชำ เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เนื่องจากกิ่งเปราะ หักง่าย และมีน้ำยางมาก | ||||||||
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : | - ยางขาวใช้รักษาแผลภายนอกและเป็นยาถ่ายอย่างแรง [1] - ดอกมีกลิ่นหอม ใช้อบน้ำทำข้าวแช่ลอยน้ำแป้งร่ำ และเครื่อง หอม [3] | ||||||||
แหล่งอ้างอิง : | [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] พัฒน์ พิชาน. 2550. สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. กรุงเทพมหานคร. [3] อฤชร พงษ์ไสว. 2541. ไม้เลื้อยประดับ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. | ||||||||
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : | ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์ | ||||||||
ที่อยู่ : |
|
||||||||
หมายเหตุ : | ดอกดกเดือนมีนาคม - มิถุนายน |