สีเสียด

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 12/09/2017
ชื่อไทย : สีเสียด
ชื่อท้องถิ่น : ขี้เสียด (เหนือ)/ สีเสียดแก่น (ราชบุรี)/ สีเสียดเหนือ (กลาง)/ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ : Catechu/ Catechu Tree/ Cutch/ Cutch tree/ Khair/ Wadlee-gum Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu (L.f.) Willd.
ชื่อวงศ์ : MIMOSACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 10-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งเปลือกสีเทาคล้ำหรือสีเทาอมน้ำตาลขรุขระแตกล่อนเป็นแผ่นยาว แก่นสีน้ำตาลแดง

ใบ :

ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ช่อใบแขนงเรียงตรงข้ามกัน 10-20 คู่ ใบย่อย 30-50 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปแถบ กว้าง 0.5-1 มม. ยาว 4-7 มม. ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ใบเกลี้ยง หรือมีขนเล็กน้อยเส้นแขนงใบข้างละ 6-7 เส้น ก้านใบหลักยาวประมาณ 3-4 ซม. มีขน

ดอก :

ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดคล้ายช่อหางกระรอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อยาว 5-9 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ ยาว 0.2-0.3 ซม เกสรเพศผู้จำนวนมาก เป็นเส้นเล็กสีขาว ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 มม. มีกลิ่นหอม

ผล :

เป็นฝักแห้งแตก ฝักแบนรูปขอบขนานหัวท้ายแหลม ยาว 5-10 ซม. ฝักแก่สีน้ำตาลคล้ำเป็นมัน  เมล็ด มี 3-7 เมล็ดต่อฝัก ลักษณะแบน สีน้ำตาลอมเขียว

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มิถุนายน สิ้นสุดระยะติดดอก : กรกฎาคม
เริ่มติดผล : สิงหาคม สิ้นสุดระยะติดผล : กันยายน
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือ ป่าละเมาะบนพื้นที่ราบและแห้งแล้งทั่วไปถิ่นกำเนิด ตะวันตกของปากีสถาน ศรีลังกาไปจนถึงพม่าการกระจายพันธุ์ ตอนใต้ของภูเขาหิมาลัยของปากีสถาน อินเดียตอนเหนือและตอนใต้ เนปาลและพม่าการใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวในสภาพดินที่เสื่อมโทรมได้ดี
การปลูกและการขยายพันธุ์ : เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขังเพาะเมล็ดและกิ่งชำ
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : แก่น เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาแผลและโรคผิวหนังเปลือกต้น มีรสฝาด เป็นยาสมานแผล แก้บิด ท้องร่วง ปิดธาตุ แก้ลงแดง แก้ท้องร่วงอย่างแรงชะล้างบาดแผลกิ่ง, ใบ ใช้สำหรับรักษาโรคเอดส์ [1]สีเสียด (ยางต้นสีเสียดที่ถูกเคี่ยวจนงวดเป็นก้อนสีดำ) มีรสฝาดจัด บดหรือต้มรับประทานแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล เคี้ยวกับหมาก ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนังให้สีน้ำตาล [1], [2], [4]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553. ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [3] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [4] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [5] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : สวนสมุนไพร
Zone B : สวนไม้ประจำจังหวัด
Zone B : สวนไม้พุทธประวัติ
Zone C1 : สวนพฤกษศาสตร์
Zone C1 : สวนกรุงเทพฯ
Zone C2 : สวนเนเธอร์แลนด์
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย