กันเกรา

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : กันเกรา
ชื่อท้องถิ่น : ตำเสา(ใต้,ระนอง)/ ทำเสา(ใต้)/ มันปลา(เชียงใหม่,เหนือ) 
ชื่อสามัญ : Anan/ Tembusu/ Ironwood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb.
ชื่อวงศ์ : LOGANIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปสามเหลี่ยมหรือกลมทึบ เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ

ใบ :

เดี่ยว เรียงตรงกันข้าม ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 8-11 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ใบหนาคล้ายหนังสีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบยาว 0.6-1.8 ซม. มีหูใบระหว่างก้านใบคล้ายรูปถ้วยเล็กๆ

ดอก :

ผล :

ผลแบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปกลม ขนาด 5-8 มม. ปลายผลมีติ่งแหลมสั้นๆ ผลอ่อนสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นแดงเลือดนก มีรสขม เมล็ด จำนวนมาก ขนาดเล็ก สีน้ำตาลไหม้

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : เมษายน สิ้นสุดระยะติดดอก : พฤษภาคม
เริ่มติดผล : มิถุนายน สิ้นสุดระยะติดผล : สิงหาคม
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ป่าบึงน้ำจืดและที่ต่ำชื้นแฉะใกล้น้ำ ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเชีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ เป็นไม้ดอกหอม ควรปลูกทั่วไปเพราะทนต่อสภาพน้ำท่วม ทรงพุ่มสวยงามเหมือนอยู่ในที่แห้งแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การปลูกและการขยายพันธุ์ : สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ โดยการเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด.  [2] มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [3] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม , สุรินทร์ ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย