กร่าง

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : กร่าง
ชื่อท้องถิ่น : ไทรทอง(นครศรีธรรมราช)/ ลุง(เชียงใหม่,เหนือ)/ ฮ่างขาว, ฮ่างหลวง, ฮ่างเฮือก(เชียงราย)/ ไฮคำ(เพชรบูรณ์) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus altissima Blume
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบเรือนยอดกว้าง แตกกิ่งต่ำ มียางขาวและมีรากอากาศ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลปนเทา

ใบ :

เดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปรีหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายในมนเป็นติ่งแหลมสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียว แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น ก้านใบยาว 2.3-3.2 ซม. หูใบรูปใบหอก 2  อัน หุ้มยอดอ่อนไว้ยาว 2-5 ซม. ผิวด้านนอกมีขนอ่อนด้านในเกลี้ยง

ดอก :

สีขาวอมน้ำตาล ออกเป็นช่อรวม ดอกย่อยอยู่ภายในฐานรองดอก ที่ขยายตัวโอบล้อมเป็นรูปกลม ออกเป็นดอกคู่ตรงซอกใบหรือที่ซอกของรอบหลุดร่วงของก้านใบ เมื่อยังอ่อนใบประดับหุ้ม ดอกแยกเพศในช่อเดียวกันดอกเพศผู้มีจำนวนมาก กลีบรวมชั้นเดียว 4 กลีบเกสรเพศผู้ 1 อัน ก้านดอกยาว 2-3 มม. ดอกเพศเมียโคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยกแป็น 4 แฉก ช่อดอกกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม.

ผล :

แบบมะเดื่อ รูปไข่ ยาว 1.5-2.5 ซม. สุกสีเหลือง ส่วนที่เป็นเนื้อผลคือฐานรองดอก ภายในผลประกอบด้วยผลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งแต่ละผลมีเนื้อบาง ๆ  เมล็ด มี 1 เมล็ด

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : มีนาคม
เริ่มติดผล : มีนาคม สิ้นสุดระยะติดผล : เมษายน
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ต้นมีขนาดใหญ่ควรปลูกในที่สาธารณะ
การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - รากอากาศเหนียวใช้ทำเชือกได้ - เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ - ต้นใช้เลี้ยงครั่ง [1]
แหล่งอ้างอิง : [1] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone A : เรือนร่มไม้
Zone B : ลานริมน้ำ และTo Sit
Zone B : สวนไม้เถา
Zone B : สวนไม้เสียบยอด
Zone B : สวนรัตติกาล
Zone B : อาคาร AR-45
Zone B : สวนกล้วยไม้
Zone C1 : สวนทฤษฎีใหม่
Zone C1 : สวนอบจ.ชม.
Zone C1 : สวนบุญรอดบริวเวอรี่
Zone C1 : สวนโยโยต้า
Zone C1 : สวนธกส.
Zone C2 : สวนเวียดนาม
Zone C2 : สวนมอริเตเนีย
Zone C2 : สวนมูลนิธิโครงการหลวง
Zone D : ลานจอดรถ P1
Zone D : ลานจอดรถ P3
Zone D : ลานจอดรถ P4
Zone D : ลานจอดรถ P5
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย