ชื่อไทย : | โมกใหญ่ | ||||||||
ชื่อท้องถิ่น : | พุด(กลาง,ประจวบคีรีขันธ์)/ พุทธรักษา(กลาง,สุโขทัย)/ มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง(เหนือ)/ โมกเขา(ประจวบคีรีขันธ์,เหนือ)/ โมกทุ่ง, โมกหลวง(เหนือ)/ ยางพูด(เลย) | ||||||||
ชื่อสามัญ : | |||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don | ||||||||
ชื่อวงศ์ : | APOCYNACEAE | ||||||||
ลักษณะวิสัย : | ไม้ยืนต้น | ||||||||
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : |
ลำต้น : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5-8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ด ใบ : เดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปมนกว้างหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 8-24 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลม ใบอ่อนมีขนสีเทาอมเหลืองพอแก่จะหลุดร่วงไป ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 9-13 เส้น ก้านใบยาว 2-6 มม. ดอก : สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 4-14 ซม. กว้าง 7-12 ซม. ทุกส่วนเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นวงปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปเข็มปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม. มีกลิ่นหอม ผล : เป็นฝักแห้งแตก ฝักยาวคู่รูปทรงกระบอก กว้าง 5-9 มม. ยาว 20-35 ซม. มีช่องระบายอากาศทั่วไป เมล็ด ยาว 1.4 ซม. มีขนอ่อนสีน้ำตาลยาวติดอยู่เป็นกระจุก |
||||||||
ระยะติดดอก - ผล : |
|
||||||||
สภาพทางนิเวศวิทยา : | นิเวศวิทยา ป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ต้นขนาดกลางเหมาะกับการปลูกประดับสวน ดอกหอมมีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจน | ||||||||
การปลูกและการขยายพันธุ์ : | |||||||||
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : | - เปลือกรักษาโรคบิด - เมล็ดเป็นยาสมานท้อง [1] | ||||||||
แหล่งอ้างอิง : | [1] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. | ||||||||
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : | ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์ | ||||||||
ที่อยู่ : |
|
||||||||
หมายเหตุ : |