1.5 องศาเซลเซียส เลขน้อยๆ แต่ผลกระทบไม่น้อยตาม
หลายๆคนที่ได้แวะมาเที่ยวชมอุทยานหลวงราชพฤกษ์ในช่วงนี้ อาจจะเห็นตัวเลข 1.5 องศาเซลเซียส ตั้งอยู่ภายในสวนลานต้อนรับ และอาจจะเกิดคำถามว่า ตัวเลขนี้คืออะไร? วันนี้แอดมินจะมาสร้างความเข้าใจคร่าวๆให้ทุกคนทราบกันจ้า
.
รายงานขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในปี 2018 ระบุว่า อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยน่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.5 องศาเซลเซียสในช่วงระหว่างปี 2030-2052 หากสถานการณ์การแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ และหากเราไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ผลกระทบที่เกิดต่อโลกเราจะรุนแรงแค่ไหน?
.
ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกระหว่าง 1.5 ที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่
หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส วันที่อากาศร้อนจัดในเขตละติจูดกลางจะร้อนกว่าในระดับยุคก่อนอุตสาหกรรมประมาณ 3 องศาเซลเซียส ประชากรโลกราว 14% จะเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงในทุกๆ 5 ปี
หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 0.26-0.77 เมตรในปี 2100 เมื่อเทียบกับช่วงปี 1986-2005
หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส คาดว่าภายในปี 2100 แมลง 6% พืช 8% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4% จะสูญเสียพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนดโดยสภาพภูมิอากาศไปมากกว่าครึ่ง และ พื้นที่บนบกของโลกราว 4% จะเผชิญการเปลี่ยนผ่านของระบบนิเวศจากประเภทหนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่ง
#การละลายของน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก
หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ามหาสมุทรอาร์กติกจะปราศจากน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนประมาณทุกๆ 100 ปี
การปราศจากน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกนั้นอาจเร่งให้ระดับอุณหภูมิโลกเพิ่มเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำทะเลที่เป็นสีน้ำเงินเข้มจะดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้
หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส คาดว่าแนวปะการังทั่วโลกอาจลดลงอีก 70-90%
รายงานของ UN คาดการณ์ว่า หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้ปริมาณการจับสัตว์น้ำประจำปีสำหรับการทำประมงทางทะเลทั่วโลก ลดลงประมาณ 1.5 ล้านตัน
ผลกระทบที่ตามมาจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพิงการเกษตรหรือการหาเลี้ยงชีพจากทรัพยากรตามแนวชายฝั่ง
#ผลกระทบด้านสุขภาพ และ ด้านอาหาร
คาดว่าจะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนจัดหรือติดเชื้อจากพาหะนำโรค เช่น โรคมาลาเรียหรือไข้เลือดออก ในแง่ของผลผลิตทางการเกษตร อาทิ ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี และธัญพืชต่างๆ ที่มีจำนวนลดลง รวมทั้งกระทบต่อการทำปศุสัตว์ โดยคาดว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจะครอบคลุมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ไปจนถึงแถบแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
แหล่งข้อมูล : THE STANDARD : Stand up for the people
ศึกษาข้อมูลทางวิชาการได้ที่ : https://climate.onep.go.th/.../11/global-warming-ipcc-48.pdf
Share this Post :