รู้หรือไม่ ว่าต้นไม้สามารถดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ แล้วต้นไม้ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไรและเก็บไว้ส่วนไหนกันบ้าง

23/02/2024      จำนวนผู้เข้าชม 49 คน

รู้หรือไม่ ว่าต้นไม้สามารถดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ แล้วต้นไม้ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไรและเก็บไว้ส่วนไหนกันบ้าง 

ก๊าซเรือนกระจกที่เรารู้จัก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้จะดูดซับคลื่นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดได้ดี แต่เมื่อมีมากเกินไปจะส่งผลให้ชั้นบรรยากาศเก็บกักรังสีความร้อนมากขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ยังทำให้ชั้นโอโซนที่มีหน้าที่กรองรังสีอันตรายอย่าง Ultraviolet หรือ UV ให้เบาบางลง

ต้นไม้สามารถดูดกลับก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งในปฏิกิริยาจะเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ไปเป็นอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตของพืช และเก็บสะสมไว้ตามเนื่อเยื่อส่วนต่างๆ ในรูปของเนื้อไม้หรือที่เรียกว่ามวลชีวภาพ (Biomass) “โดยต้นไม้หนึ่งต้น จะเก็บกักคาร์บอนไว้ส่วนของลำต้น 62% ส่วนราก 26% ส่วนของกิ่ง 11% และส่วนของใบ 1%”

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ธรรมชาติโดยการเริ่มปลูกต้นไม้คนละต้น หรือหากที่บ้านมีต้นไม้อยู่แล้วก็หมั่นดูแล บำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะในอนาคตมันก็จะกลายเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถช่วยดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ถือว่าเป็นการสร้างอายุให้กับประเทศไทย ให้กับโลก และให้กับตัวเราเองที่จะได้อยู่สูดอากาศบริสุทธิ์กันต่อไปในอนาคต

สนใจเรียนรู้และทำกิจกรรมเรียนรู้รักษ์โลก โทร 053-114110 ต่อ 5207


มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย