หลายๆท่านอาจจะเริ่มคุ้นกับคำเหล่านี้มาบ้างในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์"

26/03/2024      จำนวนผู้เข้าชม 30 คน

หลายๆท่านอาจจะเริ่มคุ้นกับคำเหล่านี้มาบ้างในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ "ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์"

ความเป็นจริงแล้ว.. ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นั้นมีเป้าหมายเดียวกันคือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนับได้เท่ากับศูนย์ แต่มีกลไกในการลดก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกัน 

 ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
คือ ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับมา ใช้วิธีการลดการปล่อยคาร์บอน และชดเชยการปล่อยคาร์บอนด้วยวิธีการต่างๆโดยผ่านป่า ผืนดิน มหาสมุทร เช่น หากเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เราสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออีก 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต

- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)
คือ การที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ คล้ายกับ ความเป็นกลางทางคาร์บอนแต่เป็นมิติที่กว้างกว่า คือ พิจารณาจากก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น [CO2(ควันรถ,อุตสาหกรรม), CH4(มูลสัตว์), N2O(ปุ๋ยเคมี)] และไม่สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตได้ โดย Net Zero Emissions จะต้องดูดซับก๊าซเรือนกระจกบนชั้นบรรยากาศในระยะยาว และต้องควบคุมไม่ให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ต้นจนจบห่วงโซ่การผลิตอีกด้วย ทำให้ Net Zero Emissions มีความท้าทายมากกว่า Carbon Neutrality และมักจะเป็นเป้าหมายในระดับประเทศมากกว่า

ทั้งสอง..มีความสำคัญต่อโลกอย่างมาก โดยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับไปจากการทำ Carbon Neutrality กับ Net Zero Emissions นั้น จะปรับสมดุลให้ชั้นบรรยากาศโลกและยับยั้งการเกิดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อโลกได้  นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทุกคนควรหันมาใส่ใจในเรื่องนี้ ทั้งภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคระดับประเทศ

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ได้ตระหนักถึงผลกระทบเหล่านี้ และได้การดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหลากหลายด้าน เช่น การจัดการขยะและของเสีย การจัดการด้านป่าไม้และพื้นที่สีเขียว การจัดการด้านพลังงานทดแทน เป็นต้น 

ที่มา :
▪️ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
▪️ PTT
▪️ Sorarus.com


มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย