นโยบายการขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy)

01/04/2022      จำนวนผู้เข้าชม 1361 คน

 ตามนโยบายการขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) ถือเป็นเศรษฐกิจแนวใหม่ ที่มีเป้าหมายการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
 

B = Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ มาจากฐานคิดของการใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งของการมีทรัพยากรชีวภาพ มุ่งหน้าสู่การสร้าง ‘มูลค่าเพิ่ม’ นำองค์ความรู้จากท้องถิ่น เสริมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น

C = Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน คือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด แก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร มลพิษและของเสียที่เป็นผลจากระบบเศรษฐกิจหรือการผลิตแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งก่อขยะมหาศาล จึงจะให้ความสำคัญกับ ‘การจัดการขยะ’ ภายหลังจากการบริโภค และ ‘การลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์’ ให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมากที่สุดและคุ้มค่าที่สุด 

G = Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่าง ‘สมดุล’ ให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพโดยลดหรือไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษและของเสีย พร้อมกับปกป้อง อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติ 

 ทางอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อน นโยบาย BCG โดยการน้อมนำหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้

 Bio Economy : เน้นการใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่า จากความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รวบรวมไว้ นำองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานมาสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดรายได้  เพิ่มพูนความหลากหลายของทรัพยากรธรรมมชาติ สร้างสรรค์กิจกรรม ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพิ่มมูลค่าในการเรียนรู้และท่องเที่ยว 

 Circular Economy : ดำเนินนำขยะทางการเกษตร มาหมุนเวียน ด้วยการผลิตเป็นปุ๋ยหมักและการบำบัดน้ำเสีย นำกลับมาใช้ในการดูแลรักษาสวน การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและคุ้มค่า การคัดแยกขยะ นำเศษวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ ในการจัดภูมิทัศน์และการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน ลดการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ไม้ดอกด้วยการผลิตเมล็ดพันธุ์ 

 Green Economy : ใช้แนวทางสำนักงานสีเขียว (Green Office) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย เช่น น้ำ ไฟ น้ำมัน ใช้พลังงานทดแทน ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกด้วยการใช้รถพลังงานไฟฟ้า ในการให้บริการ ลดกิจกรรมที่ทำใช้วัสดุสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น

 อย่างไรก็ตาม ทางอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ได้ดำเนินงานตามตามแนวทาง โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  และสร้างการรับรู้ให้ผู้เข้ารับบริการเกิดความภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยดูแลทรัพยากรธรรมชาติ 

-------------------- 
ที่ยวปลอดภัย..ใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง
-------------------- 
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่
เปิดให้ชมสวนทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.
สอบถามเพิ่มเติม 053-114110 ถึง 5


มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย